วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กัลยาณมิตรนิเทศ

กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศ
เพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร

โดย
ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์
ราชบัณฑิต
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง

Page 2
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 85/2547
ISBN
974 - 559 - 690 - 6
พิมพ์ครั้งที่ 1
มิถุนายน 2547
จำนวนพิมพ์
1,000 เล่ม
จัดพิมพ์เผยแพร่ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0 2668 7123 ต่อ 2414, 2415
โทรสาร 0 2243 2787
Web Site : http://www.onec.go.th
พิมพ์ที่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์
296 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์
บางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทร. 0 2433 0026 - 7 โทรสาร 0 2433 8587
E - mail : arts@parbpim.co.th
คำนำ
หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการ-
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 คือการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ความ-
สำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จึงอยู่ที่โรงเรียนหรือสถาน-
ศึกษาเป็นสำคัญ บุคคลสำคัญที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จ-
ดังกล่าวได้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้
ความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการเป็น-
อันดับแรกเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูอาจารย์ในสถานศึกษาของ-
ตนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีบทบาทในการนิเทศเพื่อ-
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการ-
จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของครูอาจารย์ ซึ่ง-
ในอดีตที่ผ่านมาบทบาทในการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้-
บริหารส่วนใหญ่เน้นในเรื่องงานธุรการ งานเอกสาร หรือการปฏิบัติ-
ตามนโยบายเพื่อรอรับการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา มากกว่า-
การนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน จึงควรจะต้องมี
การสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนบทบาทในการนิเทศ-
ภายในสถานศึกษาใหม่
371.2
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ส 691 ก
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง / กรุงเทพฯ :
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ., 2547
24 หน้า
ISBN : 974 - 559 -690 - 6
1. การนิเทศ- ผู้บริหารสถานศึกษา 2. สุมนอมรวิวัฒน์
3. ชื่อเรื่อง
Page 3
สารบัญ
หน้า
คำนำ
ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูป
2
กัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
5
กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ
7
รูปแบบกัลยาณมิตร : ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิดใจ
11
โรงเรียนที่เข้มแข็ง
14
หนังสือ "กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการ-
บริหารเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง" นี้ ศาสตราจารย์ สุมน
อมรวิวัฒน์ ได้ชี้ให้เห็นแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา
รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "กัลยาณมิตรนิเทศ" ที่ผู้บริหารสถานศึกษา-
ต้องเปลี่ยนจากการนิเทศกระดาษ มาเป็นนิเทศคน เป็นกระบวน
การที่ต้องเริ่มจากการสร้างศรัทธาเพื่อให้ใจและร่วมใจในการปฏิรูป-
การเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ด้วยฐาน-
ของปัญญา เมตตา และความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งเป็นองค์ความ-
รู้ด้านการนิเทศการศึกษาแบบไทย ๆ ที่สอดคล้องอย่างยิ่งกับ
หลักการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ขอขอบพระคุณ
ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ได้กรุณาบรรยายเรื่อง
"กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อ
สร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง" และเป็นราชบัณฑิตคนสำคัญที่อุทิศ
เวลา และพลังความคิดอันมีค่าเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติ-
อย่างเข้มแข็งตลอดมา
(นายรุ่ง แก้วแดง)
เลขาธิการสภาการศึกษา
Page 4
1
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
โดย...ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์
ดิฉันขอแสดงความยินดีต่อท่านผู้บริหารทุกท่านที่ได้รับการ-
ยกย่องเป็นผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ในปีใหม่2547 นี้ขอเริ่ม-
การเป็นกำลังใจให้แก่กัน ถึงจะไม่มีดอกไม้มามอบให้ แต่ว่าขอ
ให้คำบรรยายทั้งหมดต่อไปนี้เป็นดอกไม้ที่จะมอบแสดงความหวังดี
มอบความสุข และมอบกำลังใจแก่ผู้ร่วมโครงการทุกท่านตลอดปี
2547
เรื่องที่มอบหมายให้มาพูดวันนี้คือเรื่อง กัลยาณมิตรนิเทศ
ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในความพยายามที่ดิฉันจะพยายามเสนอต่อวง-
การศึกษา และคงจะต้องมีเรื่องอื่น ๆ อีก เช่น ธรรมจักรของการ
เรียนรู้ และเรื่องเบญจคุณที่เป็นความคาดหวังของหลักสูตร ที่
โรงเรียนสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้
Page 5
3
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
2
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
บทบาทเป็นโรงรู้ และมีบทบาทเป็นโรงรื่นเริง คือมีกิจกรรมต่าง ๆ
เช่นกิจกรรมทางด้านดนตรี กิจกรรมของกลุ่มชาวบ้านหรืออะไรก็-
ตามที่เข้ามาเรียนรู้แล้วรื่นเริงมีความสุขในโรงเรียนและชุมชนของ-
เรานั่นคือโรงเรียนของเราจะกลายเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของ-
ชุมชนนั้น
ประการที่3 ส่งเสริมการใช้สื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อโสตทัศน์ และสื่อธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ขอให้ท่าน
ผู้บริหารสถานศึกษาได้แสดงความสามารถในการจัดการที่จะนำ
สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อธรรมชาติ ทั้ง
4 อย่าง มาสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนของท่าน ซึ่งท่านต้องมี
วิธีการจัดการสื่อเหล่านี้ให้เสริมคุณภาพ หรือใช้ป้องกันความเสี่ยง
ของนักเรียนของท่านได้เป็นอย่างดี
ประการที่ 4 เอาใจใส่ส่งเสริมนักเรียนตามความถนัด
และความสามารถ รวมทั้งการดูแลเฝ้าระวังนักเรียนกลุ่ม
เสี่ยง ท่านบอกได้หรือไม่ว่านักเรียนของท่านกลุ่มไหนมีแววอะไร
และกลุ่มไหนมีความเสี่ยงอะไรนั่นก็คือท่านผู้บริหารสถานศึกษา-
จะไม่เป็นหัวหน้างานที่ง่วนอยู่กับเอกสารและงานธุรการ แต่จะ
เริ่มหันมามองนักเรียนของท่านมากขึ้น และสามารถบอกได้ว่า
นักเรียนในโรงเรียนของท่านกลุ่มไหนที่มีแววทางดนตรี กลุ่มไหน
ที่มีแววทางกีฬา กลุ่มไหนที่มีแววทางศิลปะ กลุ่มไหนที่มีแววทาง
ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูป
ภารกิจที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการ อันเป็นผลมา
จากการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 สำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ-
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น จากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ทางการศึกษาที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ขอให้ผู้บริหาร สถานศึกษา
ทุกท่านได้จัดกระทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับการสำรวจ-
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้และการทำมาหากิน แหล่งวิถีวัฒนธรรมของ-
ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ อาจจะเป็นเรือกสวน ไร่นา การทำมา
หากิน อาชีพต่างๆ ผลผลิตในหมู่บ้าน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หรือ-
แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ควรมีการสำรวจอย่างเป็นระบบ และเป็นข้อมูล-
ที่โรงเรียนของท่านสามารถแสดงต่อผู้ที่ต้องการทราบได้ทันที จุด
นี้จะเป็นจุดที่ทำให้โรงเรียนของท่านเข้มแข็งต่อไป
ประการที่ 2 บริหารจัดการให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวม-
ภูมิปัญญาทุกสาขาเพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงรู้ และโรงรื่นเริง
ของชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแสดงฝีมือของท่านเกี่ยวกับ-
กลวิธีที่จะดึงชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน เพราะเราพูดเรื่องโรงเรียน
กับชุมชนมานานหนักหนา มีกลวิธีอะไรบ้างที่ทำให้ชุมชนเข้ามาสู่-
โรงเรียน แล้วเปลี่ยนโรงเรียนให้เป็นโรงรู้สำหรับชุมชน คือ ชุมชน-
อยากรู้อะไรให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ที่โรงเรียน โรงเรียนจึงต้องมี-
Page 6
5
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
4
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
พนักงานบริษัท บรรยากาศแห่งการประเมินติดตาม ตรวจสอบ
กำกับจะปกคลุมไปทั่วทั้งโรงเรียน คนทุกคนจะทำงานเป็นหนู
ถีบจักร บริษัทเป็นเช่นนั้นเพราะเพื่อกำไรของบริษัท เพื่อองค์กร
ของเขา ขอให้ดูโฆษณาโทรศัพท์มือถือ ที่ผู้บริหาร CEO 2 คน
เคี่ยวเข็ญพนักงานบริษัทจนหกล้มระเนระนาด ผู้บริหารสถาน
ศึกษาจึงไม่ควรเป็น CEO เพราะโรงเรียนไม่ใช่บริษัท แต่โรงเรียน-
เป็นสถานศึกษาที่ครูไม่ใช่ลูกจ้างของ CEO แต่เป็นลูกจ้างของ-
ประชาชน และผลกำไรของโรงเรียนไม่ได้ออกมาเป็นเชิงปริมาณ
แต่ออกมาเป็นคุณภาพ ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้อง
ทำงานเป็นทีม ผู้บริหารคือผู้นำ (leader) ของหมู่คณะ ซึ่งอาจจะ-
ประกอบด้วยครู ผู้ปกครอง นักเรียน ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้มีส่วน-
ได้ส่วนเสียอื่น ๆ มากมาย เพราะฉะนั้น ผู้บริหารอาจจะเป็นผู้นำ
แต่ไม่ใช่ผู้ครองอำนาจ โปรดอย่าใช้วิธีชี้สั่งการ และจี้ให้คนทั้ง-
โรงเรียนหวาดผวากันหมด
กัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
แนวความคิดเรื่อง กัลยาณมิตรนิเทศ ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่
ประการใด การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และ
ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงระบบการนิเทศ(supervision) ให้-
มาเป็นลักษณะ peer supervision คือ เพื่อนนิเทศเพื่อน ให้มี-
ลักษณะเป็นการช่วยเหลือแบบพี่เลี้ยง (mentor) ระบบ peer
supervision หรือmentor จะเน้นการเป็นเพื่อนมากกว่าการเป็น-
ภาษา หรือกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงเรื่องยาเสพติด หรือความเสี่ยง-
อื่นๆ แม้กระทั่งพฤติกรรมของเด็กวัยเริ่มรุ่นตลอดจนการตัดสินใจ-
ของเขา ท่านคงจะได้ยินข่าวว่าเด็ก ม.6 พยายามกระโดดตึก
เพราะอกหักรักนักเรียน ม.2 เพราะฉะนั้นนักเรียนของเรามีกลุ่ม
เสี่ยงหลายกลุ่ม ท่านสามารถแยกแยะ เด็กแต่ละกลุ่มได้หรือไม่
ผู้บริหารสถานศึกษาบางท่านอาจจะบอกว่าผมไม่เคยมองดูเด็ก
เลย ไม่เคยปรึกษาครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนเพราะมัวแต่ทำ-
งานบริหารอย่างลอยตัว ก็อาจจะบกพร่องไปได้
การบริหารการศึกษาปัจจุบันจึงมิได้มีความหมายเพียงการ-
บริหาร(administration) เพียงแค่ถ้าการบริหารคือการทำเอกสาร-
และปฏิบัติงานให้เรียบร้อยถูกต้องตรงตามกฎหมายระเบียบปฏิบัติ
แต่ผู้บริหารสถานศึกษามีศักยภาพหรือไม่ต้องดูที่การจัดการ
(management) ดูที่การสื่อสารต่อมวลชน(mass communication)
คือถ้าผู้บริหารคนไหนทำงานประจำ(routine) ได้อย่างถูกต้องตาม-
ระเบียบทุกประการยังถือว่าไม่เก่งพอ ผู้บริหารที่มีศักยภาพ ต้อง-
สามารถบริหารจัดการได้ เช่น สามารถจัดทำหลักสูตร ตาราง
เรียนที่บูรณาการเชื่อมโยงได้ พูดจูงใจให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้-
และทำงานเป็นทีมได้ดี มีการสื่อสารกัน ทุกคนรู้เรื่องในโรงเรียน-
พร้อมกันหมด ดังนั้นถ้าถามว่าผู้บริหารที่มีศักยภาพดังกล่าวเป็น
CEO ของโรงเรียนใช่หรือไม่ท่านอาจจะตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่ แต่-
ดิฉันมีความเห็นว่าไม่ใช่ เพราะถ้าเป็น CEO จะมีนัยแห่งอำนาจ
(sense of power) คือจะใช้อำนาจเข้ามากำกับ และมองครูเป็น-
Page 7
7
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
6
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร เน้น 5 กระบวนการ
สำคัญ ดังนี้
1. กัลยาณมิตรนิเทศเน้นการนิเทศคน ไม่ใช่นิเทศ-
กระดาษ การนิเทศครูในโรงเรียนของเราเป็นการนิเทศคนไม่ใช่
การนิเทศกระดาษและอุปกรณ์ เพราะฉะนั้นการนิเทศแบบ-
กัลยาณมิตรจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าท่านผู้บริหารไม่สนใจครู สนใจ
นักเรียน คุยกับเขา สนทนาเป็นกลุ่ม หรือสนทนาอย่างไม่
เป็นทางการ มีวันศุกร์ชั่วโมงสุดท้ายที่มีการพบกัน หรือตอนเช้า
วันพฤหัสบดีมีการพบกัน 30 นาทีก่อนเข้าเรียนหรืออะไรก็แล้ว
แต่คุณจะไปหาวิธีในการจัดเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาพบกับครู
คุยกับครูในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ คือนั่ง
ประชุมตัวตรงอย่างเป็นทางการก็ทำ หรือนั่งคุยกันไปกินขนมครก-
กับกาแฟตอนเช้าไปก็ได้ เป็นการนิเทศคนแล้วเราจะได้ปัญญา
จะได้แนวทางแก้ไขมากกว่านิเทศกระดาษ
2. กัลยาณมิตรนิเทศ เป็นกระบวนการ "ให้ใจ" และ
"ร่วมใจ"การนิเทศคนเราจะนิเทศไม่ได้ถ้าไม่ได้ใจของเขาเพราะ-
ถ้าจำใจแล้วจำเจมันน่าเบื่อ อะไรก็ตามที่จำใจทำแล้วไม่เกิดฉันทะ
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาคือทำอย่างไรจะ
ให้ครูในโรงเรียนของเรามีใจ ไม่มาโรงเรียนแต่กาย เพราะ-
ฉะนั้นสิ่งแรกคือ ทำอย่างไรจึงจะได้ใจเขามา แล้วครูในโรงเรียน
ของเราทำงานสำเร็จ เป็นความสำเร็จจากการร่วมใจของทุกคน
ผู้เหนือกว่าหรือต่ำกว่า เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงเรื่องการ-
นิเทศการศึกษาตามความหมายของกัลยาณมิตรนิเทศนั้น
เป็นการนิเทศที่มุ่งการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาเอกสาร-
และผลงาน จริงอยู่ผลงานและเอกสารเป็นร่องรอยของการปฏิบัติ-
งานที่จำเป็นต้องมี แต่ขอให้มีสาระมากกว่าข้อมูลย่อย ๆ ไม่ใช่-
รายงานที่น่าเบื่อ เริ่มต้นด้วยความเป็นมาและความสำคัญของ-
ปัญหา และต่อด้วยหัวข้อตามแบบฟอร์มที่คัดลอกต่อ ๆ กันมา
อ่านแล้วน่าเบื่อเป็นกำลัง ท่านบอกมาเลยว่าท่านพัฒนาครูได้
อย่างไร ท่านพัฒนานักเรียน พัฒนาคนได้อย่างไร การนิเทศ
ทางการศึกษาที่เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตรจึงเป็นการพัฒนา-
ครูในลักษณะของ INN ซึ่งเป็นสูตรของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์-
ประเวศ วะสี คือ information/ node/ network
1) การพัฒนาinformationคือพัฒนาความรู้ข่าวสารข้อมูล-
ต่างๆ ให้แก่ครูของเรา
2) การสร้างnodeคือจุดที่จะกระจายความรู้ความสามารถ-
ต่อจากเรา ในโรงเรียนของท่านเองต้องมี node ที่จะช่วยแบ่งเบา-
ภาระของท่าน เช่น กลุ่มครูที่ชำนาญในเรื่องต่าง ๆ พร้อมที่จะ-
กระจายการปฏิรูปการเรียนรู้ภายในโรงเรียนต่อไป
3) การสร้างnetworkคือการขยายเครือข่ายของเราออกไป-
ให้มาก ถ้าเราใช้สูตรINN ของคุณหมอประเวศ ก็จะทำให้ผู้บริหาร-
สถานศึกษาไม่รวมศูนย์อยู่ที่ตัวท่านแต่กระจายลักษณะการนิเทศ-
ออกไปสู่กลุ่มต่างๆ ในโรงเรียนและครอบคลุมครูทั้งโรงเรียน
Page 8
9
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
8
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
4. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศเน้นการสร้างสังคม-
การเรียนรู้ ในประเทศไทยเรานี้ที่เรายังไปไม่ถึงไหน เพราะเรา
ไม่ใช่สังคมความรู้ แต่เป็นสังคมความเห็น ถ้าท่านอ่านหนังสือ
พิมพ์แล้วดูหน้าการศึกษาจะไม่ค่อยมีใครออกมาให้ความรู้แก่คนใน-
วงการศึกษา หรือให้ความรู้แก่ครูมีแต่การแสดงความเห็น จึงเป็น-
หน้าที่ของสภาการศึกษาอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดสังคม ความรู้
ขึ้นในบรรดาคนที่สภาการศึกษาไปเกี่ยวข้อง ใครต้องการอ่าน-
หนังสือดีๆ จะมาขอที่สภาการศึกษา เกิดเป็นสังคมความรู้ขึ้น
ถ้ามีแต่สังคมความเห็นเดี๋ยวก็เอาไมโครโฟนไปยื่นให้ท่านนี้ ท่าน
โน้น แล้วเอามารวมกันเป็นสังคมความเห็น แต่ถ้าถามว่าทำ
อย่างไรไม่รู้รากฐานมาจากไหนไม่รู้นอกจากจะเป็นสังคมความรู้-
แล้ว ยังเป็นสังคมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ดิฉันได้พูด-
หลายหนว่า ไม่มีครูคนใดในประเทศไทยที่ไม่มีอะไรดี ไม่มี
ใครที่เลวบริสุทธิ์ ครูทุกคนเขามีดีของเขา เพราะฉะนั้นผู้-
บริหารที่ชาญฉลาดจะพยายามค้นหาว่าครูของเราแต่ละคน-
เขามีดีอะไร แล้วใช้สิ่งที่เขาดีมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กันจะช่วยสร้างความมั่นใจให้เขาทีละนิดๆ ขอให้เขาได้มี-
โอกาสแสดงให้เขาได้มีโอกาสคิด โรงเรียนของท่านจะต้องเน้น-
การสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ มีจดหมายข่าว มีกระดานข่าวเกิด-
ขึ้นในโรงเรียน พอเข้ามาเซ็นชื่อก็จะเห็นข่าว เช่น วันนี้มีข่าว-
โรงเรียนถูกเผา 20 แห่ง มาเผาโรงเรียนของหนูทำไม มีข่าวที่จะ-
เพิ่ม GPA เป็น 25% แล้วปีต่อไปอาจจะขึ้น 80% อะไรอย่างนี้
3. กัลยาณมิตรเริ่มต้นที่ "ศรัทธา" การที่จะได้ใจต้อง
สร้างศรัทธา เราไหว้พระมานานเพราะความศรัทธาเลื่อมใส
ศรัทธาสำหรับคนไทยสร้างไม่ยาก พอเริ่มยิ้มให้กันศรัทธาจะเกิด
ขึ้น ใช้ผัสสะทั้ง 6 ให้ได้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้สัมผัสด้วยกาย วาจา
ใจ คือเป็นการสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น ขอให้ยิ้มแม้ว่าเราจะหนักใจ-
อย่างไรก็ตาม เอาน้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก ไม่ได้หมายความว่า
หน้าไหว้หลังหลอก แต่ขอให้สร้างศรัทธา ดิฉันทำงานกับท่าน-
ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล และท่านจะพาพวกเราบุกดอย
แม่สะเรียงตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว ซึ่งดิฉันเดิมเป็นคนที่สำรวย ห้องน้ำ
ไม่ดีก็มีปัญหา ท่านอาจารย์อำไพ จะบอกสุมน ไปแม่สะเรียงกัน
สนุก เดินขึ้นดอยสนุกจังเลย ท่านจะสร้างศรัทธาให้เราตลอด
จนกระทั่งเราได้เรียนรู้ว่า การที่จะนั่งวางท่าเป็นศาสตราจารย์
อยู่ในมหาวิทยาลัยเสียข้าวสุกเปล่าๆ ควรจะได้ออกมาทำงานเพื่อ-
คนอื่นให้มาก ตั้งแต่นั้นดิฉันรักการทำงานที่บุกเบิก กว้างไกล
เพราะว่าเรามีวัตถุดิบที่จะสอนนิสิตมากเหลือเกิน ทันทีที่เราออก
ไปสู่สังคมภายนอก นั่นก็คือทำให้งานเป็นกระบวนการทางบวก
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นงานที่เราทำต้องเป็นกระบวนการทางบวก
ยอมรับกัน สนับสนุนกัน เกื้อกูลกัน ขอให้เราถามไถ่สารทุกข์
สุกดิบกัน วันนี้เป็นอย่างไร ดูหน้าซีดเป็นอะไรหรือเปล่า ทานยา
หรือยัง คือ แสดงความเอาใจใส่ แต่อย่ามากเกินไป ต้องรู้หลัก-
มัชฌิมาปฏิปทา สร้างความไว้วางใจ สร้างความเชื่อมั่นในทาง
เสริมแรงกัน
Page 9
11
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
10
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ฐานที่ 3 คือ ฐานความเป็นจริงในชีวิต วิถีชีวิตที่เรา
สามารถจะพัฒนาได้ เป็นฐานทางวัฒนธรรม ขณะนี้การยุบรวม
เขตพื้นที่การศึกษาได้ทำให้ครู และศึกษานิเทศก์ สปช. สช. ไป
รวมกับครู ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา คนละวัฒนธรรมการ
ทำงาน คนละวัฒนธรรมความคิด คนละวัฒนธรรมฐานความรู้
ถึงแม้ว่าจะเป็นครูเหมือนกันมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อ
มาทำงานร่วมกัน คนที่เป็นผู้บริหารจะต้องเข้าใจวัฒนธรรมของ
แต่ละคน แล้วมีความสามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียน
ของเราเป็นวัฒนธรรมองค์กรของเรา จึงจะไม่มีว่าใครมาจากไหน
เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้วทำอย่างไรถึงจะหลอมรวมวัฒนธรรมกันได้
ตัวอย่างฐานที่ 3 นี้ยังมีอีกมาก
รูปแบบกัลยาณมิตร : ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิดใจ
1. ให้ใจ กัลยาณมิตรนิเทศเป็นกระบวนการให้ใจ ถ้าคุณ
ไม่มีใจให้ คุณมีแต่เงินให้ ไม่สำเร็จ คุณต้องมีใจให้ นั่นคือต้อง
สร้างจิตอาสาที่จะปฏิบัติ เราเคยมีวัฒนธรรมชอบแสดงแต่ความ
คิดเห็นแต่ถ้าให้ทำไม่ทำ เราจึงไม่แสดงความคิดเห็น เพราะแสดง-
แล้วคนที่แสดงเป็นคนทำ จิตอาสาไม่มี โรงเรียนไหนก็ตามที่ครู
ไม่ให้ใจ เลิกเกิน 20 นาทีก็บ่น วันเสาร์มาเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อ
จะมีทักษะคอมพิวเตอร์ก็บ่น ไม่มีใจให้ ท่านผู้บริหารสถานศึกษา-
ต้องรู้นะว่าครูเขามีครอบครัว เขาอาจจะมีปัญหาส่วนตัว เขาต้อง-
ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง ผู้อำนวยการอย่ามาเคี่ยวเข็ญให้
เกิดเป็นข่าวขึ้นมาตลอดเวลาก็จะเป็นการสื่อสาร หรือมีกล่องรับ
ฟังความคิดเห็นใครมีเรื่องกลุ้มใจเขียนใส่กล่องนี้ มีการสื่อสาร
กันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ถ้าเป็นเช่นนี้โรงเรียนของ-
เราก็จะมีชีวิตชีวา
5. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศมาจากฐานปัญญา-
ธรรม ฐานเมตตาธรรม และฐานความเป็นจริงในชีวิต ถ้า
ฐานใดฐานหนึ่งขาดไป กัลยาณมิตรไม่เกิด ฐานที่ 1 คือ ปัญญา-
ธรรม คือฐานความรู้ ผู้บริหารจะมัวพูดว่าผมไม่รู้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ได้ จริงอยู่ไม่มีใครที่รู้ทั้งหมด เพราะเราไม่ใช่สัพพัญญู แต่
โรงเรียนของเราจะต้องตื่นตัว ในการที่จะแสวงหาความรู้ มี-
ป้ายกระดานข่าวให้ความรู้ครู มีความสะดวกในการค้นหาความรู้-
ข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต หรือแต่ละท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ครู
ต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสบขุ่น จ.น่าน
เห็นชัดเลยว่าเขามีวิธีการบริหารจัดการกับนักเรียนที่เป็นชาวเขา-
อย่างไร ขณะนี้นำไปสู่นโยบายที่ทำอย่างไรเด็กชาวเขาถึงจะมี-
สัญชาติ ถ้าเขาจบการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น สิ่งที่เราทำมัน
เกิดเป็นฐานความรู้ขึ้นมาแล้วครูของเราก็จะเป็นครูที่มีความรู้เกิด-
ขึ้น เพราะฉะนั้นฐานความรู้จึงเป็นฐานที่สำคัญ
ฐานที่ 2 เมตตาธรรม คือฐานความรัก ก่อนอื่นท่านต้อง-
เมตตาตัวเอง เราไม่ควรจะโหมงานอยู่คนเดียว พยายามกระจาย-
งาน พยายามทำตนให้มีชีวิตชีวา พยายามสร้างมนุษยสัมพันธ์
ที่ดีทุกอย่างเป็นฐานของความเมตตาทั้งสิ้น
Page 10
13
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
12
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
คุณภาพ ต้องมีปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นถ้าเราตั้งใจที่จะแก้
ปัญหาร่วมกัน ให้กำลังใจกัน สร้างสิ่งดี ส่งเสริมเพิ่มเติมสิ่งที่
ขาด แล้วหัดวิจารณ์ วิเคราะห์ สรุปข้อแก้ไขปัญหา กระบวนการ
นี้ถ้าไม่ตั้งใจจะทำไม่ได้เพราะมันหนัก มันยาก จึงต้องบากบั่น
มานะพยายาม ตั้งใจที่จะสร้างสรรค์โรงเรียนของเราให้เข้มแข็ง
4. เปิดใจ โรงเรียนของท่านต้องได้รับการตรวจสอบ
ทบทวน ประเมิน 3 คำนี้เป็นคำที่ครูสยดสยอง ครูไม่ชอบ 3 คำนี้
ตรวจสอบเอาแผนมาตรวจเอาโครงการมาตรวจแล้วต้องไปแก้ไข
หรือทำใหม่ซึ่งยุคนี้เราหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบทบทวนที่-
ประเมินไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นเราควรจะใช้การประเมินเชิงบวก คือ
การตรวจสอบตนเอง การทบทวนดูตนเอง และประเมินตน-
เองให้3 คำนี้เป็นไปเพื่อสร้างความตระหนักว่าเราจะต้องทำอย่าง-
นั้นอย่างนี้อย่างโน้นเตือนเราไว้ตรวจสอบทบทวนเพื่อเตือนตนเอง
ประเมินเพื่อปรับปรุงตนเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะฝึกครูทีละนิดๆ
ให้ประเมินกันให้แสดงความคิดเห็นกันซึ่งหน้าไม่ไปนินทาลับหลัง
เขาชอบว่าครูชอบนินทา เราไม่นินทากัน แต่เรามาวิจารณ์กัน เรา-
มาฝึกครูให้วิจารณ์กันและพยักหน้ารับได้ ถ้าทำอย่างนี้ได้-
ประเทศไทยจะเจริญ เพราะว่าการวิจารณ์ที่รับได้คือการ-
วิจารณ์ตามความเป็นจริงมีเหตุผลปราศจากอคติ ถ้าเรา
จะประเมินโครงงานต่างๆ เราประเมินผลที่เห็นจริงแล้วตามขั้น
ตอนที่เป็นจริง และประเมินเพื่อจะพัฒนา ไม่ใช่ประเมินเพื่อ-
พิพากษา ผู้ประเมินไม่มีสิทธิที่จะพิพากษาว่าโรงเรียนไหนไร้
พวกเขาทำอะไรมากมาย ถ้าคุณทะลายกำแพงนี้ไม่ได้ก็ไม่เชื่อว่า-
โรงเรียนของคุณจะเข้มแข็ง เพราะครูไม่ให้ใจ ถ้าดิฉันไปเยี่ยม-
โรงเรียนไหนเจอครูยิ้มให้จะรู้สึกดีใจมาก เพราะว่าเขาไม่กลัวว่า
เราจะมาตรวจอะไร แล้วดูบรรยากาศในโรงเรียนถ้ามีคนให้ใจ-
บรรยากาศของโรงเรียนจะเป็นอย่างหนึ่ง ดิฉันสัมผัสได้ทันที ถ้า
เข้าไปในสถานที่ที่เขาทะเลาะกันเขาใช้อำนาจข่มขู่กัน เข้าไปแล้ว
เราจะรู้สึกเยือกเย็น หงอยเหงา เงียบงันกว่าปกติ
2. ร่วมใจ ก็คือ ไม่เอาดีเด่นดังเฉพาะตัว แต่ทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมช่วยให้เกิดพลัง ท่านคงฟังเรื่องนิทานไม้ไผ่ซีก-
เดียวกับไม้ไผ่เป็นกำ การทำงานรวมพลังเป็นทีมภาษาบริหาร
สมัยใหม่คือ synergy คือ การรวบรวมพลังเป็นทวีคูณ ขับเคลื่อน-
ไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ ถ้าท่านผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
รุ่น 2 แต่ละคนไปทำงานของตน โดยที่ สกศ. เป็นศูนย์กลางใน
การเสริมแรง (synergy) เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบทั้ง 2
รุ่นเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการบริหารใหม่ขึ้นมาได้ จะ
เกิดเป็นองค์กรที่มีพลังที่ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ-
ต้องรับฟัง เพราะสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาทำออกมาไม่ใช่ความ
เห็น แต่เป็นความรู้และเป็นผลของการปฏิบัติร่วมกันเป็นทีม
เพราะฉะนั้นกระบวนการร่วมใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
3. ตั้งใจ ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องมีความวิริยะ
อุตสาหะ บากบั่น พยายาม เพราะงานในโรงเรียนของเราต้อง
มีปัญหาแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใดที่ต้องการสร้างสรรค์
Page 11
15
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
14
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ดนตรี ได้ยินเสียงสนทนา ได้ยินเสียงหัวเราะ ได้ยินเสียงอ่าน
กลอน ได้ยินเสียงพูดของนักเรียน ไม่ใช่ว่าเข้าไปแล้วโรงเรียน
เงียบสงัดได้ยินแต่เสียงครูอยู่แจ้วๆ สถานที่ที่เงียบสงัดจะน่ากลัว-
มาก เพราะฉะนั้นโรงเรียนที่เงียบสงัดจะได้ยินแต่เสียงครู และ
เสียงตวาดของผู้อำนวยการ ในโรงเรียนที่เข้มแข็งบรรยากาศ
จะผ่อนคลาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่อยเฉื่อย ที่ผ่อนคลายคือทำงาน-
อย่างสบายใจ ผ่อนคลายที่ใจ ไม่ใช่ที่กาย และในเวลาเดียว
กันทุกฝ่ายเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน แล้วก็ไว้วางใจกัน
2. โรงเรียนที่เข้มแข็งจะไม่มีใครถูกทอดทิ้งอยู่อย่าง
โดดเดี่ยว โรงเรียนจะให้ทุกคนทำงานเป็นทีม มุ่งพัฒนาคุณภาพ-
ของตนเองและของผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนของเราจึงไม่ใช่เป็น-
แต่เพียง child - centered เท่านั้น แต่เป็น teacher- centered
ในเชิงบริหารคือ ผู้บริหารต้องสนใจให้ความสำคัญครูด้วย แล้ว
ทุกอย่างจะขึ้นมาอยู่ที่จิตสำนึกเป็น consciousness - centered
กลายมารวมเป็นจิตสำนึกของทุกคนในโรงเรียน ที่จะทำให้การ-
จัดการศึกษาในโรงเรียนของเราไม่อ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างที่เป็น
อยู่ เพื่อว่าอีก 20 ปีข้างหน้า นักเรียนในโรงเรียนของท่านเขาจะ
เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ถ้าท่านปลูกฝังเขาไว้ดีเขาจะเป็นผู้ใหญ่
ที่ดี แต่ถ้าท่านทำให้เขาตายทั้งเป็นตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน เขา
กลายเป็นผู้ใหญ่ที่โง่เขลาบ้าอำนาจใช้เงินเป็นใหญ่ เขากลาย
เป็นคนที่ฉกฉวยผลประโยชน์ทุกชนิด เมื่อถึงเวลานั้นคุณจะเป็น
คนแก่ที่เศร้าโศกมากๆ เพราะนั่นคือผลกรรมที่คุณทำเอาไว้ การ
คุณภาพ ผู้บริหารคนไหนไร้คุณภาพ แต่มีหน้าที่ที่จะเข้าไป
พัฒนาคนที่เห็นว่าเขาน่าจะปรับปรุงได้และพัฒนาเขาขึ้นมา
ผู้ประเมินจึงไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นผู้พัฒนา
โรงเรียนที่เข้มแข็ง
ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปต้องสามารถสร้างโรงเรียนให้-
เข้มแข็ง อาจจะเรียกว่า smart school หรือ magnet school
ก็ได้ คือเป็นโรงเรียนที่ไม่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นโรงเรียนที่มี
พลัง ท่านวาดภาพได้ไหมว่าโรงเรียนที่อ่อนแอนั้นเป็นอย่างไร
ทำอย่างไรโรงเรียนของท่านจะมีพลังเกิดขึ้นโดยใช้ทุนทางสังคม
ใช้ทุนทางวัฒนธรรมใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและใช้หลักวิชาให้เป็น-
ประโยชน์ เพราะว่าการบริหารโดยไม่มีหลักวิชาการนั้นเป็นการ-
บริหารแบบลองผิดลองถูก แต่แน่นอนไม่มีหลักวิชาใดที่ใช้ได้กับ
ทุกโรงเรียนต้องมีการนำหลักการไปประยุกต์ใช้ ลักษณะของ-
โรงเรียนที่เข้มแข็ง คือ
1. โรงเรียนที่เข้มแข็งจะพัฒนาคนไปสู่งาน มิใช่การ
รับงานมาสั่งคน เดิมผู้บริหารสถานศึกษาจะคอยรับคำสั่งจาก-
กระทรวงศึกษาธิการ รับคำสั่งจากระดับจังหวัด แล้วก็เอาคำสั่ง
นั้นมาสั่งให้ครูให้ทำงาน ต่อไปนี้ไม่ใช่ต้องกลับกัน เราจะพัฒนา
คนให้เขาสร้างงานของเขาขึ้นมาเอง แต่แน่นอนเราก็ต้องเป็น
กัปตันที่ถือหางเสือ ให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เพราะฉะนั้น-
โรงเรียนที่เข้มแข็งจึงเป็นโรงเรียนที่มีชีวิตเข้าไปแล้วได้ยินเสียง
Page 12
17
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
16
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
โครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
ที่ปรึกษา
ดร.รุ่ง แก้วแดง
เลขาธิการสภาการศึกษา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประธานผู้ทรงคุณวุฒิโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
ดร.นงราม เศรษฐพานิช
ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา
คณะทำงาน
ดร.วรัยพร แสงนภาบวร
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
ดร.จินตนา ศักดิ์ภู่อร่าม
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นางสาวสุภาพร โกเฮงกุล
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นายวีระ พลอยครบุรี
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นางสาวน้องนุช ดำเกิงสุรเดช
นักวิชาการศึกษา 4
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
เป็นคนในวงการศึกษาเราได้ทำบุญทุกวัน ดิฉันเชื่ออย่างนั้น คือ
เราได้ใช้ความสามารถของเราช่วยสร้างชีวิตที่ดีให้แก่ครู และ
นักเรียนของเราตั้งกี่ร้อยคน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำดี ทำให้เขา
ดีขึ้นๆ คือ กุศลกรรมอย่างยิ่ง ครูจึงเป็นคนที่จะได้ขึ้นสวรรค์
เพราะเราเป็นคนสร้างให้มนุษย์เป็นคนที่ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ แล้ว
ปกป้องเขาไม่ให้เขาไปสู่อบายภูมิ และโมหภูมิ เพราะฉะนั้นจึง
ขอให้กำลังใจผู้บริหารสถานศึกษาทุกท่าน ทุกวันนั้นท่านได้ทำ
บุญมาก และจะเกิดกุศลกรรมแก่ท่านอย่างยิ่ง ขอให้เป็นพร
ปีใหม่ในปี 2547 นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น