วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงการนิเทศแนวใหม่

โครงการ การพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
แผนงาน (ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณภาพ คุณธรรม)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกมล ศิริบรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2555
………………………………………………………………………………………………………………
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ กระทรวงศึกษาธิการ (โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรับผิดชอบในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ด้วยมีความเชื่อว่า การที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้นได้ ครู คือ ทรัพยากรบุคคลและปัจจัยที่สำคัญที่สุด จึงต้องเน้นที่การพัฒนาคุณภาพครูเป็นสำคัญ ดังนั้น การเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของรัฐบาลที่กำหนดเป็นโครงการเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการ (Mega project) ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงมีโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณภาพ และมีคุณธรรม เป็นโครงการสำคัญ ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรมหลัก รวม 12 โครงการ/กิจกรรมหลัก โดยมีโครงการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่ เป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งรวมอยู่ด้วยนั้น
ระบบการนิเทศการศึกษา เป็นระบบสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีความสำคัญยิ่ง มีศึกษานิเทศก์เป็นเพื่อนร่วมทางในการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนภายใต้บรรยากาศแห่งความเป็นกัลยาณมิตร ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถมีความชัดเจน ตัดสินใจอย่างถูกต้องในการบริหารการศึกษาให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยตรง และช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักการ/ทฤษฎีทางการศึกษา ส่งผลดีต่อผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีทั้งความรู้ ความสามารถ เจตคติที่ดีและมีคุณธรรม จริยธรรมอย่างเหมาะสม
การพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
เพื่อตอบสนองต่อการเร่งรัดการดำเนินการตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ที่จะรองรับต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ) ระยะที่ 2 (2553-2555) และพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลต่อการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดทำ โครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ สำหรับเป็นข้อมูลในการพัฒนาศึกษานิเทศก์ และใช้เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ของไทยในอนาคต
2. เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้มีคุณลักษณะ และพฤติกรรมการนิเทศการศึกษาที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบและรูปแบบการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
4. เพื่อค้นหา รวบรวม Best Practices ด้านการนิเทศการศึกษา จัดเป็นคลังความรู้และเผยแพร่เป็นแบบอย่างใช้ในการเทียบเคียงการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาการนิเทศ

เป้าหมาย ( ปีงบประมาณ 2553 – 2555)
1. ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ได้รับการประเมินสมรรถนะและจัดกลุ่ม การพัฒนาตามผลการประเมิน
2. ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถในการนิเทศ การวิจัยและพัฒนาการนิเทศตามระบบนิเทศแนวใหม่ ให้ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งมีคลังความรู้ Best Practices ด้านการนิเทศการศึกษา ที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา นำสู่การเผยแพร่หลากหลายรูปแบบ
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งมีกลุ่มเครือข่ายร่วมวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา ทุกระดับการศึกษา คือ เครือข่ายระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศึกษานิเทศก์
กิจกรรมที่ 1.1 กำหนดมาตรฐานศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ประกอบด้วย
1.1 สมรรถนะ
1.1.1 สมรรถนะหลัก
1.1.2 สมรรถนะประจำสายงาน
1.2 องค์ความรู้
1.2.1 พื้นฐานความรู้ดี
1.2.2 องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
1.3 มีเครือข่ายวิชาชีพ
1.4 มีเทคนิคการนิเทศและทักษะพื้นฐานเพื่อการนิเทศ ต่อไปนี้
1.4.1) ทักษะการบริหารจัดการเชิงระบบ(วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ การพัฒนาทางเลือก/วิธีการใหม่ ๆ ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การวางแผน/จัดทำแผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามงาน การประเมินความก้าวหน้า การประเมินผล การติดตามผล)
1.4.2) ทักษะจัดการ การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นหมู่คณะ
1.4.3) ทักษะการสื่อสาร(ความสามารถด้านภาษา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร)
1.4.4) ทักษะวิชาการ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ การวิจัย การประเมิน การนำเสนอข้อมูล การบรรยายทางวิชาการ
1.4.5) ทักษะมนุษย์สัมพันธ์
1.5 มีการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อการนิเทศที่เป็นระบบ
1.6 ปฏิบัติการใด ๆ ด้วย Action Model ที่เป็นรูปธรรม
1.7 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 2 การประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
2.1 สร้างเครื่องมือประเมินศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์
2.2 ศึกษานิเทศก์ประเมินตนเอง
2.3 ผอ.สพท.ประเมินจัดระดับศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์รายคน
กิจกรรมที่ 3 จัดทำหลักสูตร คู่มือ/ชุดฝึก วิธีการฝึกอบรม
3.1 จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม “ Whole School Approach ”
3.2 จัดทำคู่มือ/ชุดฝึกอบรม/ วิธีการฝึกอบรม
3.3 กำหนดรูปแบบการฝึกอบรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
3.3.1 e – Training
3.3.2 Face to Face
3.3.3 Learning on the job/On the job training
3.3.4 อื่นๆ
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์ สู่การเป็นมืออาชีพ
หลักสูตร Whole School Approach
( เลือกวิธีการที่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง)
2.1 In-service Training...การอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ
2.2 จัดทำ ID Plan พัฒนา ตนเอง และดำเนินการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.3 ระบบ e – Training
2.4 ร่วมในเครือข่าย หรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดโดยองค์กรต่างๆ หรือจัดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
2.5 จับคู่เรียนรู้ตัวต่อตัว
- Peer Coaching
- Peer Assist
- Shadowing
- Mentoring System
- Buddy System
2.6 เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
- โครงการกลุ่มร่วมพัฒนา
- วิจัยและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
- กิจกรรมกลุ่ม “เรื่องเล่าเร้าพลัง” (Story Telling)
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn)
2.7 Action Learning(เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน)
2.8 Job Swap (แลกเปลี่ยนงาน)
2.9 Self Study (ศึกษาด้วยตนเอง)
2.10 Coaching (การสอนงาน)
2.11 Expert Briefing (พบผู้เชี่ยวชาญ)
2.12 Field Trip (ศึกษาดูงาน)
2.13 Mentoring (พี่เลี้ยง)
2.14 On the Job training(การปฏิบัติงาน)
2.15 Project Assignment (มอบหมายงาน)
2.16 Task Force Participation (การมีส่วนร่วมในงาน)
2.17 Work Shadowing (ติดตามผู้มีประสบการณ์)
2.18 Training / Workshop (ฝึกอบรม/ประชุมปฏิบัติการ)
2.19 อื่นๆ
กิจกรรมที่ 5 ยกย่อง สนับสนุนศึกษานิเทศก์ Master Supervisor
5.1 กำหนดเกณฑ์/สร้างเครื่องมือคัดกรอง Master Supervisor
5.2 คัดเลือก Master Supervisor ระดับ สพท./จังหวัด /เขตตรวจราชการ ตามลำดับ (เขตตรวจราชการละ 1 คน/ปี)
5.3 จัดส่งไปศึกษาดูงานการวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา ตามความต้องการของ สพฐ.
5.4 จัดทุนสนับสนุนให้นำผลการศึกษาดูงานมาจัดทำวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษาที่สำนักงานเขตพื้นที่ฯ อย่างน้อย 1 เรื่อง
5.5 เผยแพร่ผลงานวิจัย / จัดทำทำเนียบยกย่องเป็น Master Supervisor
5.6 ประสานงาน ก.ค.ศ.เพื่อดำเนินการนำผลงานเสนอสิทธิการได้รับเงินวิทยพัฒน์
กิจกรรมที่ 2 การสนับศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศ 19 เขตตรวจราชการ และศูนย์วิจัยและพัฒนาครู และการเรียนการสอน
ระดับเขตตรวจราชการ
กิจกรรมที่ 1 : จัดตั้งศูนย์และพัฒนาการนิเทศ
1.1 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานของศูนย์ฯ
1.2 แต่งตั้งคณะ Roving Team ระดับเขตตรวจราชการ
1.3 จัดกลุ่มเครือข่าย
1.3.1 สำนักงานเขตพื้นที่
1.3.2 สถานศึกษาระดับปฐมวัย
1.3.3 สถานศึกษาระดับประถมศึกษา
1.3.4 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1.3.5 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.4 สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา/ช่วยเหลือ สนับสนุน
1.4.1 สถาบันอุดมศึกษาทั้งในท้องถิ่นและอื่นๆ
1.4.2 หน่วยงานภาครัฐ /ภาคเอกชน/ สถานประกอบการ
1.4.3 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 2 : จัดกลุ่มเครือข่ายมีส่วนร่วมวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
2.1จัดระบบข้อมูลพื้นฐาน ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
2.2 คัดกรอง จัดประเภท จำแนกกลุ่มสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ตามสภาพและระดับมาตรฐาน
2.3 ออกแบบการวิจัยและพัฒนาการนิเทศร่วมกับให้เหมาะสมกับสภาพและระดับมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษา
กิจกรรมที่ 3 : วิจัยและพัฒนาการนิเทศ
3.1 พัฒนาบุคลกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
3.2 ออกแบบการวิจัยและพัฒนาการนิเทศร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
3.3วิจัยและพัฒนาการนิเทศถึงกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่ 4 : การส่งเสริมสนับสนุน
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน
4.3 ประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อตรวจสอบคุณภาพเทียบเคียงความก้าวหน้าในการพัฒนา
4.4 จัด Symposium นำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์
4.5 ยกย่องผลงานวิจัยและเผยแพร่เอกสารและ Weblog

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาครู การเรียนการสอน 185 เขตพื้นที่
1.1 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการระดับเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 กำหนดโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของศูนย์วิทยบริการให้เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท
1.3 สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการเรียนการสอนและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3.1 สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น
1.3.2 สถานศึกษาทุกสังกัด
1.3.3 หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน / สถานประกอบการ
1.3.4 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ต่อ)
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาครู 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.1 คัดกรอง/ประเมินสมรรถนะครู 5 กลุ่มสาระ จัดกลุ่ม/ประเภท แยกตามระดับสมรรถนะ
2.2 ทำ MOU กับสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษาและครูเป็นรายคน เพื่อการพัฒนาสมรรถนะและการเรียนการสอน
2.3 พัฒนาครูรายคนตามระดับสมรรถนะร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและศูนย์ประสานงานการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของ สพฐ.ตาม Solution โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา
2.4 ประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาเป็นรายคน
กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
3.1.ศึกษานิเทศก์ทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับเขตตรวจราชการเพื่อพัฒนาการนิเทศการศึกษา
3.2 ทำวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนโดยให้ครูมีส่วนร่วมเป็นคณะวิจัยกับศึกษานิเทศก์
3.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอน
3.4 จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยของครูในระดับสำนักงานเขตพื้นที่ฯเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกย่อง เผยแพร่เป็นเอกสารและ Weblog
3.5 จัดทำ Knowledge Asset ผลงานวิจัยระดับเขตพื้นที่ฯ
3.6 เชื่อมโยงผลงานการวิจัยสู่การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครูและศึกษานิเทศก์


กิจกรรมที่ 3 การจัดประกวดผลงาน Best Practices เพื่อหาผลงานศึกษานิเทศก์

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือก Best Practices ของศึกษานิเทศก์ทุกคน
1.1 คัดเลือก Best Practices ระดับเขตพื้นที่
1.2 นำเสนอ Best Practices ระดับเขตตรวจราชการ (คัดเลือกทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 1,000 ชิ้น)
1.3 ถอดรหัส/บทเรียน จาก Best Practices จัดเก็บเป็นคลังความรู้
กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ Best Practices
2.1 เอกสาร /วารสาร
2.2 Weblog
กิจกรรมที่ 3 จัดทำ Gallery แสดง Best Practices ประจำศูนย์วิทยบริการ
ที่สำนักงานเขตพื้นที่
กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรม KM และ Benchmarking
4.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practices ทุกปี
4.2 นำไป Benchmarking สำหรับผู้สนใจปรับปรุง / พัฒนา

กิจกรรมที่ 4 การกำกับติดตามและการจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
กิจกรรมที่ 1 : จัดตั้งศูนย์กำกับ ติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบนิเทศแนว ใหม่และนโยบายการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลัก ระดับ สพฐ. (ศูนย์เฉพาะกิจ)
1.1 จัดตั้งศูนย์กำกับ ติดตาม การดำเนินงานฯ ทำหน้าที่
1.1.1 กำกับ ติดตามและรายงานผลการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
1.1.2 ยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา)
1.2 จัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ
1.3 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์ฯ
กิจกรรมที่ 2 : การกำกับ ติดตามการดำเนินงานของเขตตรวจราชการ และเขตพื้นที่ฯ
2.1 ประสาน ส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศระดับเขตตรวจราชการและศูนย์วิจัยและพัฒนาครู การเรียนการสอนระดับเขตพื้นที่ฯ
2.2 เป็นเครือข่ายสนับสนุน ส่งเสริมการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการนิเทศระดับเขตตรวจราชการและระดับเขตพื้นที่ฯ
2.3 จัดทำรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
กิจกรรมที่ 3 : ขับเคลื่อนนโยบายยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.1 วางแผนยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักระดับประเทศ
3.2 สร้างและระดมเครือข่ายสนับสนุน เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักแก่สำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษา
3.3 พัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครู 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักที่เป็นจุดเน้นตามนโยบายให้มีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนนโยบาย
3.4 ทำหน้าที่ Roving Team ประสานงาน นิเทศติดตามผล ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือสำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบาย
3.5 วิจัยและพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
งบประมาณ
ที่
กิจกรรม
ปี 2553
2554
2555
รวม
1
การพัฒนาศึกษานิเทศก์หลักสูตร Whole School Approach




2.
การจัดประกวดผลงาน
Best Practices
เพื่อหาผลงานศึกษานิเทศก์




3
3.1 การสนับศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศ 19 เขตตรวจราชการ
3.2 การสนับสนุนศูนย์วิจัยและพัฒนาครู และการเรียนการสอน
500,000


1,467,600
500,000


1,467,600
500,000


1,467,600
1,500,000


4,402 ,800
4
การกำกับติดตามและการจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่





รวมทั้งสิ้น
86.000 ล้านบาท
76.000 ล้านบาท
76.000 ล้านบาท
238.000 ล้านบาท


การประเมินผล

ตัวชี้วัด
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
ร้อยละของศึกษานิเทศก์ที่ได้รับการพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่Whole School Approach
1.การทดสอบความรู้งานในหน้าที่
2.การประเมินสมรรถนะ(สัมภาษณ์/ตรวจผลงาน/การสอบถามผู้เกี่ยวข้อง/การซักถาม)


3.การสอบถามผู้เกี่ยวข้องหลังการ พัฒนา
1.แบบทดสอบความรู้
2.แบบประเมินสมรรถนะ/แบบสัมภาษณ์/แบบบันทึกการผลการตรวจผลงาน/แบบสอบถามความคิดเห็น/แบบบันทึกข้อมูลจากการซักถาม)
3.แบบสอบถามความคิดเห็น
จำนวนรูปแบบ นวัตกรรมและกระบวนการนิเทศที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practices)
และผลงานวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
1. การตรวจผลงาน Best Practices/
งานวิจัยและพัฒนา
2. การซักถามจากการนำเสนอ
3 การสำรวจความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

1.แบบบันทึกผลการตรวจผลงาน/แบบสำรวจรายการ

2.แบบบันทึกข้อมูลจากการซักถาม
3.แบบสำรวจความคิดเห็น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีฐานข้อมูลระดับความรู้ ความสามารถของศึกษานิเทศก์ และใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการพัฒนา ปรับปรุงการนิเทศการศึกษาให้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครู และการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. ศึกษานิเทศก์มีความเป็นมืออาชีพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. ระบบ รูปแบบและกระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณค่า มีการนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนส่งผลดีต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
4. บรรยากาศการบริหารจัดการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนการสอน ภายใต้ระบบการนิเทศแนวใหม่ เป็นบรรยากาศของการสร้างสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้และบุคลากรมีความสุขจากการทำงานที่ประสบความสำเร็จ



………………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น