วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำไมคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักศึกษานิเทศก์

จากนโยบายสู่การปฏิบัติ
โดย รศ.ดร.ธงทอง จันทรางสุ เลขาธิการสภาการศึกษา

ถ้าจะพูดเรื่องของการศึกษา มักจะเริ่มพูดถึงปัญหาอยู่เสมอ เมืองไทยมี3 สภาคือ สภาพัฒน์ สภาวิจัย สภาการศึกษา 3 สภาเดิมทีอยู่ที่เดียวกันคือสำนักนายก ต่อมาคอยกระจายกันอยู่ ซึ่งมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือใกล้ชิดกัน แต่ก็ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กัน เมื่อผมเริ่มทำงาน รมต.จุรินทร์ เริ่มติวเตอร์ แชนนอล ผมว่าการกวดวิชาไม่ใช่สร้างองค์ความรู้ แต่เป็นการเอาชนะข้อสอบเท่านั้น ผมให้ข้อมูลไป แต่ท่านก็ทำเพราะเป็นเรื่องการเมือง เป็นเรื่องนโยบาย
แต่ผมก็ดีใจว่าได้แนะนำไปแล้ว
งานการศึกษา เมื่อผมเรียนหนังสือมานานก็ไปเคาะสนิมมา ผมไปเรียนยี่สิบวัน ที่นิวยอร์ค ไปพักบ้านทูตที่เป็นเพื่อนกัน กลับมาเพื่อนๆก็บอกว่าเก้าอี้ยังมั่นคง แต่รู้ไหมว่าเพื่อนร่วมงานทะเลาะกันฉิบหายเลย ส่วนใหญ่ก็เป็นหม้ายกันทั้งนั้นแหละ
เมื่อวานไปชี้แจงงบประมาณกับ สส. แต่ก็เป็นห่วงเรื่องคุณภาพ อาชีวะ สามัญ ครูที่มีคุณภาพเข้าระบบ ความเป็นธรรมในการบริหาร อ.ก.ค.ศ.ไม่โปร่งใส การเลื่อนวิทยฐานะที่จ้างคนทำมาไม่เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน ซึ่งเป็นเรื่องสภาการศึกษาจะต้องศึกษาวิจัย
สำหรับงบประมาณ 200 ล้านที่ผมได้ มีส่วนหนึ่งที่ปฏิรูปการศึกษาซึ่งส่วนหนึ่งต้องทำสมัชชา สส.ก็เสนอตัดเพราะให้สั่งการไปเลยในการอบรม ผมต้องอธิบายว่า สมัชชาต้องมีคนหลายคนหลายฝ่ายมาพูดแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่สั่งการให้อบรมกัน อีกเรื่องคือ เป็นไปได้ไหมเรื่อง สหกิจศึกษา เหล่านี้ต้องนำคนมาคุยกัน ก็เลยได้ 10 ล้านคืนมา แต่ก็ถูกตัดไป 7 ล้าน
เรื่องศึกษานิเทศก์ คนทั่วไปไม่รู้ศึกษานิเทศก์ ผมก็รู้ไม่แท้หรือรู้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นจุดอ่อน การทำให้คนรู้จักเรา มีเพื่อนฝูง มีพันธมิตร (ตอนนี้มีแต่ศัตรู เพราะไปแล้วไปด่า ไปดุเขา) เรายังไม่ทำเป็นชิ้นเป็นอัน ตอนนี้
สมาคมทำอะไรบ้าง สุภาภรณ์ ตอบว่า พึ่งมารับตำแหน่งนายก 5 เดือน ที่ไม่รู่จักเพราะเราถูกตัดหัวที่กรม กำลังดำเนินการ ส่วนที่สอง กำลังจัดประชุมทางวิชาการ เปิดโอกาสให้ แต่มีงานเยอะมาก ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เปิดให้มีการศึกษาดูงานสู่สากล ขาดการประชาสัมพันธ์ซึ่งกำลังดำเนินการ
นี่คือเรื่องแรกที่เราต้องให้เป็นรูปธรรม แต่การแสวงหาแนวร่วมที่ไม่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ อย่างสภาก็มีสื่อช่วยเป็นเพื่อนทำงานก็ดีเหมือนกัน อย่างคุณสมหมาย ปริฉัตร ของมติชน ผมก็ล่อมาประชุมด้วย เครือข่ายอย่างนี้มีความสัมพันธ์ แต่มีเพื่อนดี ก็มีศัตรูเหมือนกัน สรุปว่าต้องทำงานเชิงรุกมาขึ้น
ส่วนที่สอง อยากจะเล่าให้ฟังว่า มันเข้าใจยากที่จะเล่าให้คนฟัง การสมัชชาก็เป็นวิธิการหนึ่งที่ไปบอก ไปเสริมแรงเขาในสิ่งที่มีมา ศน.จำเป็นต้องมีสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษามันต้องเดินหน้าเสมอ อีกเรื่องคือการถ่ายทอดความรู้ที่พอเหมาะ จูงใจเชื่อปลูกศรัทธา ไม่ใช้สั่ง ผมเชื่อว่าครูยังพอใจที่จะรับฟัง เมื่อเราเสนอทางเลือกที่เป็น Best ศน.ต้อง Update อยู่เสมอ ถ้าเรารู้น้อยมากกว่าเขา เขาก็จะบอกว่าเคยฟังแล้ว เหมือนไหว้พระก่อนนอน พอขี้เกียจก็บอกว่าเหมือนคืนเดิม มันต้องหาคาถาอื่นมาสวดบ้าง ศึกษานิเทศก์ก็เช่นกัน ใครอยู่กระทรวงศึกษาธิการต้องเรียนรู้เรื่องใหม่ๆเสมอ
ที่นครศรีธรรมราช อยากจะเล่าเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 5 ปีที่ผ่านมาจะเป็นการก่อสร้างจะเป็นรูปธรรม ส่วนการศึกษา 3-4 ปี จึงเห็นรูปธรรม แต่ก็มี อบต.อีกส่วนหนึ่งที่สนใจการศึกษา ที่ปากพูน อบต.ที่นั่นน่าสนใจ เขามีวิทยุชุมชน มีคุณแม่บ้านมีลูกถ่ายทอดจากการรักษาพื้นบ้านจากพ่อ จะมีเด็กมาคุยกับผู้ใหญ่ มีศูนย์ศึกษา คู่ขนานกับโรงเรียนนี่แหละ ส่วนไหนที่โรงเรียนไม่สอนก็เอามาสอน เช่น ปลูกข้าว การย่ำโคลนเด็กชอบ การสีไวโอลีน เด็กๆก็มีครูดนตรี มีวงดนตรี มีแขกมาก็วงนี้แหละ บางทีก็ขับรถ ไม่มีใครใหญ่ใครน้อย อบต.ปากพูนจึงเป็นตัวอย่างที่ดี
ที่จังหวัดขอนแก่น มีโรงเรียนทางเลือก เป็นการถ่วงน้ำหนักให้มีความพอดี โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่บางมดผมก็เคยไปดู ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ โรงเรียนทางเลือกจะใส่เข้าไปทุกแห่งได้ไหมในโรงเรียนปกติ สืบไปสืบมา เทศบาลขอนแก่น เขาเอาทางเลือกเข้าไปผสม ทำให้เกิดความกระด้างลดลงไป แต่ผมอยากจะไปดู ซึ่งดีกว่าสิบปากว่า
เพราะฉะนั้นจึงจะบอกศึกษานิเทศก์ว่า ท่านคือสิบปากว่า และก็ยังไม่เท่ามือคำ มีไหมเครื่องมือที่มันแทนสิบปากว่า และแทนคำว่าไม่เท่ามือคำ ลงไปดู ท่านอยู่สนามรบท่านต้องเป็นที่ปรึกษาทหาร ท่านต้องยิงปืนแม่นกว่าทหาร
เป้าหมายการศึกษา คนไทยต้องได้เรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึงทุกวัยทุกช่วงอายุ ในระบบก็มากแล้ว ส่วนที่สูงอายุ ชายขอบ พวกนี้มีความจำเป็น สถานศึกษาน่าจะทำไปให้แปลกกว่าเดิม แต่ไม่ได้บอกว่าต้องทำ ถ้าห้องสมุดโรงเรียน ถ้าจะทำให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่จะดีไหมก็ลองไปคิดดู ท่านเคยไปดูมิวเซี่ยม(แหล่งเรียนรู้) ไหม แต่ผมไปดูมาแล้ว ดังนั้นที่สะพานผ่านฟ้ามีแหล่งเรียนรู้เยอะน่าเรียนรู้น่าสนใจ รวมทั้งแถวๆนั้นมีแหล่งความรู้เยอะแยะ แต่เดี๋ยวนี้ต่างคนต่างอยู่ ผมคิดว่าอยากเชิญผู้เกี่ยวข้องมาคุยกัน ส่วนต่างจังหวัดทำอย่างไรถึงจะทำให้คนที่นั่นรู้ว่าโรงเรียน สิ่งต่างๆ เป็นของเขา ท่านลองไปคิดดู และทำอย่างไรคนถึงจะอ่านมากขึ้น ดูมากขึ้น วิทย์คณิตรู้มากขึ้น
กนป.ได้มอบตัวชี้วัดให้แล้ว ซึ่งเป็นเป้าหมายในการพัฒนา จะมอบให้ฝ่ายจัดไว้
กระบวนการทำงานของ ศน.นั้นมีความสำคัญมาก มีข้อสังเกตคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนรู้จัก ศน.
การทำให้มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ และที่ว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคำ เหล่านี้ท่านจะต้องปรับตัวหรือไม่ ก็ฝากท่านไปพิจารณาก็แล้วกัน
ต่อข้อถาม ตัวชี้วัดของสภาการศึกษา มักจะชี้ความสำเร็จในด้านนโยบาย ผมจะเปลี่ยนใหม่ว่าความสำเร็จ
ตามตัวชี้วัดอย่างนี้แล้ว ก็ส่งให้ สพฐ.เลย ไม่ต้องเข้า ครม. ถ้าบอร์ดยอมรับก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของสภาการศึกษา
อีกข้อหนึ่ง คือ ที่ท่านให้ว่า ศน.ต้องอิสระในความคิด แต่ความเป็นเอกภาพน้อยมาก เพราะนายมาก โครงการเยอะ อยากจะขอโอกาสมีหน่วยกลาง ภูมิภาค ทำงานอิสระ ตอบว่า จะพยายามไปดูแล ต้องไปคุยกันเพราะเป็นการบริหาร ผมไม่อยากแทรกแซง สพฐ. อีกข้อ คือ การปฏิรูปรอบสอง น่าจะปฏิรูปเป็นเรื่อง ประถมศึกษาให้ผู้เชี่ยวชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น