วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กัลยาณมิตรนิเทศ

กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศ
เพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร

โดย
ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์
ราชบัณฑิต
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง

Page 2
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 85/2547
ISBN
974 - 559 - 690 - 6
พิมพ์ครั้งที่ 1
มิถุนายน 2547
จำนวนพิมพ์
1,000 เล่ม
จัดพิมพ์เผยแพร่ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0 2668 7123 ต่อ 2414, 2415
โทรสาร 0 2243 2787
Web Site : http://www.onec.go.th
พิมพ์ที่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์
296 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์
บางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทร. 0 2433 0026 - 7 โทรสาร 0 2433 8587
E - mail : arts@parbpim.co.th
คำนำ
หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการ-
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 คือการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ความ-
สำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จึงอยู่ที่โรงเรียนหรือสถาน-
ศึกษาเป็นสำคัญ บุคคลสำคัญที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จ-
ดังกล่าวได้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้
ความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการเป็น-
อันดับแรกเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูอาจารย์ในสถานศึกษาของ-
ตนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีบทบาทในการนิเทศเพื่อ-
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการ-
จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของครูอาจารย์ ซึ่ง-
ในอดีตที่ผ่านมาบทบาทในการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้-
บริหารส่วนใหญ่เน้นในเรื่องงานธุรการ งานเอกสาร หรือการปฏิบัติ-
ตามนโยบายเพื่อรอรับการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา มากกว่า-
การนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน จึงควรจะต้องมี
การสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนบทบาทในการนิเทศ-
ภายในสถานศึกษาใหม่
371.2
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ส 691 ก
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง / กรุงเทพฯ :
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ., 2547
24 หน้า
ISBN : 974 - 559 -690 - 6
1. การนิเทศ- ผู้บริหารสถานศึกษา 2. สุมนอมรวิวัฒน์
3. ชื่อเรื่อง
Page 3
สารบัญ
หน้า
คำนำ
ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูป
2
กัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
5
กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ
7
รูปแบบกัลยาณมิตร : ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิดใจ
11
โรงเรียนที่เข้มแข็ง
14
หนังสือ "กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการ-
บริหารเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง" นี้ ศาสตราจารย์ สุมน
อมรวิวัฒน์ ได้ชี้ให้เห็นแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา
รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "กัลยาณมิตรนิเทศ" ที่ผู้บริหารสถานศึกษา-
ต้องเปลี่ยนจากการนิเทศกระดาษ มาเป็นนิเทศคน เป็นกระบวน
การที่ต้องเริ่มจากการสร้างศรัทธาเพื่อให้ใจและร่วมใจในการปฏิรูป-
การเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ด้วยฐาน-
ของปัญญา เมตตา และความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งเป็นองค์ความ-
รู้ด้านการนิเทศการศึกษาแบบไทย ๆ ที่สอดคล้องอย่างยิ่งกับ
หลักการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ขอขอบพระคุณ
ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ได้กรุณาบรรยายเรื่อง
"กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อ
สร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง" และเป็นราชบัณฑิตคนสำคัญที่อุทิศ
เวลา และพลังความคิดอันมีค่าเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติ-
อย่างเข้มแข็งตลอดมา
(นายรุ่ง แก้วแดง)
เลขาธิการสภาการศึกษา
Page 4
1
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
โดย...ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์
ดิฉันขอแสดงความยินดีต่อท่านผู้บริหารทุกท่านที่ได้รับการ-
ยกย่องเป็นผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ในปีใหม่2547 นี้ขอเริ่ม-
การเป็นกำลังใจให้แก่กัน ถึงจะไม่มีดอกไม้มามอบให้ แต่ว่าขอ
ให้คำบรรยายทั้งหมดต่อไปนี้เป็นดอกไม้ที่จะมอบแสดงความหวังดี
มอบความสุข และมอบกำลังใจแก่ผู้ร่วมโครงการทุกท่านตลอดปี
2547
เรื่องที่มอบหมายให้มาพูดวันนี้คือเรื่อง กัลยาณมิตรนิเทศ
ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในความพยายามที่ดิฉันจะพยายามเสนอต่อวง-
การศึกษา และคงจะต้องมีเรื่องอื่น ๆ อีก เช่น ธรรมจักรของการ
เรียนรู้ และเรื่องเบญจคุณที่เป็นความคาดหวังของหลักสูตร ที่
โรงเรียนสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้
Page 5
3
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
2
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
บทบาทเป็นโรงรู้ และมีบทบาทเป็นโรงรื่นเริง คือมีกิจกรรมต่าง ๆ
เช่นกิจกรรมทางด้านดนตรี กิจกรรมของกลุ่มชาวบ้านหรืออะไรก็-
ตามที่เข้ามาเรียนรู้แล้วรื่นเริงมีความสุขในโรงเรียนและชุมชนของ-
เรานั่นคือโรงเรียนของเราจะกลายเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของ-
ชุมชนนั้น
ประการที่3 ส่งเสริมการใช้สื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อโสตทัศน์ และสื่อธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ขอให้ท่าน
ผู้บริหารสถานศึกษาได้แสดงความสามารถในการจัดการที่จะนำ
สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อธรรมชาติ ทั้ง
4 อย่าง มาสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนของท่าน ซึ่งท่านต้องมี
วิธีการจัดการสื่อเหล่านี้ให้เสริมคุณภาพ หรือใช้ป้องกันความเสี่ยง
ของนักเรียนของท่านได้เป็นอย่างดี
ประการที่ 4 เอาใจใส่ส่งเสริมนักเรียนตามความถนัด
และความสามารถ รวมทั้งการดูแลเฝ้าระวังนักเรียนกลุ่ม
เสี่ยง ท่านบอกได้หรือไม่ว่านักเรียนของท่านกลุ่มไหนมีแววอะไร
และกลุ่มไหนมีความเสี่ยงอะไรนั่นก็คือท่านผู้บริหารสถานศึกษา-
จะไม่เป็นหัวหน้างานที่ง่วนอยู่กับเอกสารและงานธุรการ แต่จะ
เริ่มหันมามองนักเรียนของท่านมากขึ้น และสามารถบอกได้ว่า
นักเรียนในโรงเรียนของท่านกลุ่มไหนที่มีแววทางดนตรี กลุ่มไหน
ที่มีแววทางกีฬา กลุ่มไหนที่มีแววทางศิลปะ กลุ่มไหนที่มีแววทาง
ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูป
ภารกิจที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการ อันเป็นผลมา
จากการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 สำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ-
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น จากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ทางการศึกษาที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ขอให้ผู้บริหาร สถานศึกษา
ทุกท่านได้จัดกระทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับการสำรวจ-
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้และการทำมาหากิน แหล่งวิถีวัฒนธรรมของ-
ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ อาจจะเป็นเรือกสวน ไร่นา การทำมา
หากิน อาชีพต่างๆ ผลผลิตในหมู่บ้าน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หรือ-
แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ควรมีการสำรวจอย่างเป็นระบบ และเป็นข้อมูล-
ที่โรงเรียนของท่านสามารถแสดงต่อผู้ที่ต้องการทราบได้ทันที จุด
นี้จะเป็นจุดที่ทำให้โรงเรียนของท่านเข้มแข็งต่อไป
ประการที่ 2 บริหารจัดการให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวม-
ภูมิปัญญาทุกสาขาเพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงรู้ และโรงรื่นเริง
ของชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแสดงฝีมือของท่านเกี่ยวกับ-
กลวิธีที่จะดึงชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน เพราะเราพูดเรื่องโรงเรียน
กับชุมชนมานานหนักหนา มีกลวิธีอะไรบ้างที่ทำให้ชุมชนเข้ามาสู่-
โรงเรียน แล้วเปลี่ยนโรงเรียนให้เป็นโรงรู้สำหรับชุมชน คือ ชุมชน-
อยากรู้อะไรให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ที่โรงเรียน โรงเรียนจึงต้องมี-
Page 6
5
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
4
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
พนักงานบริษัท บรรยากาศแห่งการประเมินติดตาม ตรวจสอบ
กำกับจะปกคลุมไปทั่วทั้งโรงเรียน คนทุกคนจะทำงานเป็นหนู
ถีบจักร บริษัทเป็นเช่นนั้นเพราะเพื่อกำไรของบริษัท เพื่อองค์กร
ของเขา ขอให้ดูโฆษณาโทรศัพท์มือถือ ที่ผู้บริหาร CEO 2 คน
เคี่ยวเข็ญพนักงานบริษัทจนหกล้มระเนระนาด ผู้บริหารสถาน
ศึกษาจึงไม่ควรเป็น CEO เพราะโรงเรียนไม่ใช่บริษัท แต่โรงเรียน-
เป็นสถานศึกษาที่ครูไม่ใช่ลูกจ้างของ CEO แต่เป็นลูกจ้างของ-
ประชาชน และผลกำไรของโรงเรียนไม่ได้ออกมาเป็นเชิงปริมาณ
แต่ออกมาเป็นคุณภาพ ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้อง
ทำงานเป็นทีม ผู้บริหารคือผู้นำ (leader) ของหมู่คณะ ซึ่งอาจจะ-
ประกอบด้วยครู ผู้ปกครอง นักเรียน ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้มีส่วน-
ได้ส่วนเสียอื่น ๆ มากมาย เพราะฉะนั้น ผู้บริหารอาจจะเป็นผู้นำ
แต่ไม่ใช่ผู้ครองอำนาจ โปรดอย่าใช้วิธีชี้สั่งการ และจี้ให้คนทั้ง-
โรงเรียนหวาดผวากันหมด
กัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
แนวความคิดเรื่อง กัลยาณมิตรนิเทศ ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่
ประการใด การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และ
ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงระบบการนิเทศ(supervision) ให้-
มาเป็นลักษณะ peer supervision คือ เพื่อนนิเทศเพื่อน ให้มี-
ลักษณะเป็นการช่วยเหลือแบบพี่เลี้ยง (mentor) ระบบ peer
supervision หรือmentor จะเน้นการเป็นเพื่อนมากกว่าการเป็น-
ภาษา หรือกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงเรื่องยาเสพติด หรือความเสี่ยง-
อื่นๆ แม้กระทั่งพฤติกรรมของเด็กวัยเริ่มรุ่นตลอดจนการตัดสินใจ-
ของเขา ท่านคงจะได้ยินข่าวว่าเด็ก ม.6 พยายามกระโดดตึก
เพราะอกหักรักนักเรียน ม.2 เพราะฉะนั้นนักเรียนของเรามีกลุ่ม
เสี่ยงหลายกลุ่ม ท่านสามารถแยกแยะ เด็กแต่ละกลุ่มได้หรือไม่
ผู้บริหารสถานศึกษาบางท่านอาจจะบอกว่าผมไม่เคยมองดูเด็ก
เลย ไม่เคยปรึกษาครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนเพราะมัวแต่ทำ-
งานบริหารอย่างลอยตัว ก็อาจจะบกพร่องไปได้
การบริหารการศึกษาปัจจุบันจึงมิได้มีความหมายเพียงการ-
บริหาร(administration) เพียงแค่ถ้าการบริหารคือการทำเอกสาร-
และปฏิบัติงานให้เรียบร้อยถูกต้องตรงตามกฎหมายระเบียบปฏิบัติ
แต่ผู้บริหารสถานศึกษามีศักยภาพหรือไม่ต้องดูที่การจัดการ
(management) ดูที่การสื่อสารต่อมวลชน(mass communication)
คือถ้าผู้บริหารคนไหนทำงานประจำ(routine) ได้อย่างถูกต้องตาม-
ระเบียบทุกประการยังถือว่าไม่เก่งพอ ผู้บริหารที่มีศักยภาพ ต้อง-
สามารถบริหารจัดการได้ เช่น สามารถจัดทำหลักสูตร ตาราง
เรียนที่บูรณาการเชื่อมโยงได้ พูดจูงใจให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้-
และทำงานเป็นทีมได้ดี มีการสื่อสารกัน ทุกคนรู้เรื่องในโรงเรียน-
พร้อมกันหมด ดังนั้นถ้าถามว่าผู้บริหารที่มีศักยภาพดังกล่าวเป็น
CEO ของโรงเรียนใช่หรือไม่ท่านอาจจะตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่ แต่-
ดิฉันมีความเห็นว่าไม่ใช่ เพราะถ้าเป็น CEO จะมีนัยแห่งอำนาจ
(sense of power) คือจะใช้อำนาจเข้ามากำกับ และมองครูเป็น-
Page 7
7
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
6
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร เน้น 5 กระบวนการ
สำคัญ ดังนี้
1. กัลยาณมิตรนิเทศเน้นการนิเทศคน ไม่ใช่นิเทศ-
กระดาษ การนิเทศครูในโรงเรียนของเราเป็นการนิเทศคนไม่ใช่
การนิเทศกระดาษและอุปกรณ์ เพราะฉะนั้นการนิเทศแบบ-
กัลยาณมิตรจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าท่านผู้บริหารไม่สนใจครู สนใจ
นักเรียน คุยกับเขา สนทนาเป็นกลุ่ม หรือสนทนาอย่างไม่
เป็นทางการ มีวันศุกร์ชั่วโมงสุดท้ายที่มีการพบกัน หรือตอนเช้า
วันพฤหัสบดีมีการพบกัน 30 นาทีก่อนเข้าเรียนหรืออะไรก็แล้ว
แต่คุณจะไปหาวิธีในการจัดเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาพบกับครู
คุยกับครูในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ คือนั่ง
ประชุมตัวตรงอย่างเป็นทางการก็ทำ หรือนั่งคุยกันไปกินขนมครก-
กับกาแฟตอนเช้าไปก็ได้ เป็นการนิเทศคนแล้วเราจะได้ปัญญา
จะได้แนวทางแก้ไขมากกว่านิเทศกระดาษ
2. กัลยาณมิตรนิเทศ เป็นกระบวนการ "ให้ใจ" และ
"ร่วมใจ"การนิเทศคนเราจะนิเทศไม่ได้ถ้าไม่ได้ใจของเขาเพราะ-
ถ้าจำใจแล้วจำเจมันน่าเบื่อ อะไรก็ตามที่จำใจทำแล้วไม่เกิดฉันทะ
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาคือทำอย่างไรจะ
ให้ครูในโรงเรียนของเรามีใจ ไม่มาโรงเรียนแต่กาย เพราะ-
ฉะนั้นสิ่งแรกคือ ทำอย่างไรจึงจะได้ใจเขามา แล้วครูในโรงเรียน
ของเราทำงานสำเร็จ เป็นความสำเร็จจากการร่วมใจของทุกคน
ผู้เหนือกว่าหรือต่ำกว่า เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงเรื่องการ-
นิเทศการศึกษาตามความหมายของกัลยาณมิตรนิเทศนั้น
เป็นการนิเทศที่มุ่งการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาเอกสาร-
และผลงาน จริงอยู่ผลงานและเอกสารเป็นร่องรอยของการปฏิบัติ-
งานที่จำเป็นต้องมี แต่ขอให้มีสาระมากกว่าข้อมูลย่อย ๆ ไม่ใช่-
รายงานที่น่าเบื่อ เริ่มต้นด้วยความเป็นมาและความสำคัญของ-
ปัญหา และต่อด้วยหัวข้อตามแบบฟอร์มที่คัดลอกต่อ ๆ กันมา
อ่านแล้วน่าเบื่อเป็นกำลัง ท่านบอกมาเลยว่าท่านพัฒนาครูได้
อย่างไร ท่านพัฒนานักเรียน พัฒนาคนได้อย่างไร การนิเทศ
ทางการศึกษาที่เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตรจึงเป็นการพัฒนา-
ครูในลักษณะของ INN ซึ่งเป็นสูตรของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์-
ประเวศ วะสี คือ information/ node/ network
1) การพัฒนาinformationคือพัฒนาความรู้ข่าวสารข้อมูล-
ต่างๆ ให้แก่ครูของเรา
2) การสร้างnodeคือจุดที่จะกระจายความรู้ความสามารถ-
ต่อจากเรา ในโรงเรียนของท่านเองต้องมี node ที่จะช่วยแบ่งเบา-
ภาระของท่าน เช่น กลุ่มครูที่ชำนาญในเรื่องต่าง ๆ พร้อมที่จะ-
กระจายการปฏิรูปการเรียนรู้ภายในโรงเรียนต่อไป
3) การสร้างnetworkคือการขยายเครือข่ายของเราออกไป-
ให้มาก ถ้าเราใช้สูตรINN ของคุณหมอประเวศ ก็จะทำให้ผู้บริหาร-
สถานศึกษาไม่รวมศูนย์อยู่ที่ตัวท่านแต่กระจายลักษณะการนิเทศ-
ออกไปสู่กลุ่มต่างๆ ในโรงเรียนและครอบคลุมครูทั้งโรงเรียน
Page 8
9
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
8
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
4. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศเน้นการสร้างสังคม-
การเรียนรู้ ในประเทศไทยเรานี้ที่เรายังไปไม่ถึงไหน เพราะเรา
ไม่ใช่สังคมความรู้ แต่เป็นสังคมความเห็น ถ้าท่านอ่านหนังสือ
พิมพ์แล้วดูหน้าการศึกษาจะไม่ค่อยมีใครออกมาให้ความรู้แก่คนใน-
วงการศึกษา หรือให้ความรู้แก่ครูมีแต่การแสดงความเห็น จึงเป็น-
หน้าที่ของสภาการศึกษาอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดสังคม ความรู้
ขึ้นในบรรดาคนที่สภาการศึกษาไปเกี่ยวข้อง ใครต้องการอ่าน-
หนังสือดีๆ จะมาขอที่สภาการศึกษา เกิดเป็นสังคมความรู้ขึ้น
ถ้ามีแต่สังคมความเห็นเดี๋ยวก็เอาไมโครโฟนไปยื่นให้ท่านนี้ ท่าน
โน้น แล้วเอามารวมกันเป็นสังคมความเห็น แต่ถ้าถามว่าทำ
อย่างไรไม่รู้รากฐานมาจากไหนไม่รู้นอกจากจะเป็นสังคมความรู้-
แล้ว ยังเป็นสังคมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ดิฉันได้พูด-
หลายหนว่า ไม่มีครูคนใดในประเทศไทยที่ไม่มีอะไรดี ไม่มี
ใครที่เลวบริสุทธิ์ ครูทุกคนเขามีดีของเขา เพราะฉะนั้นผู้-
บริหารที่ชาญฉลาดจะพยายามค้นหาว่าครูของเราแต่ละคน-
เขามีดีอะไร แล้วใช้สิ่งที่เขาดีมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กันจะช่วยสร้างความมั่นใจให้เขาทีละนิดๆ ขอให้เขาได้มี-
โอกาสแสดงให้เขาได้มีโอกาสคิด โรงเรียนของท่านจะต้องเน้น-
การสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ มีจดหมายข่าว มีกระดานข่าวเกิด-
ขึ้นในโรงเรียน พอเข้ามาเซ็นชื่อก็จะเห็นข่าว เช่น วันนี้มีข่าว-
โรงเรียนถูกเผา 20 แห่ง มาเผาโรงเรียนของหนูทำไม มีข่าวที่จะ-
เพิ่ม GPA เป็น 25% แล้วปีต่อไปอาจจะขึ้น 80% อะไรอย่างนี้
3. กัลยาณมิตรเริ่มต้นที่ "ศรัทธา" การที่จะได้ใจต้อง
สร้างศรัทธา เราไหว้พระมานานเพราะความศรัทธาเลื่อมใส
ศรัทธาสำหรับคนไทยสร้างไม่ยาก พอเริ่มยิ้มให้กันศรัทธาจะเกิด
ขึ้น ใช้ผัสสะทั้ง 6 ให้ได้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้สัมผัสด้วยกาย วาจา
ใจ คือเป็นการสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น ขอให้ยิ้มแม้ว่าเราจะหนักใจ-
อย่างไรก็ตาม เอาน้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก ไม่ได้หมายความว่า
หน้าไหว้หลังหลอก แต่ขอให้สร้างศรัทธา ดิฉันทำงานกับท่าน-
ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล และท่านจะพาพวกเราบุกดอย
แม่สะเรียงตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว ซึ่งดิฉันเดิมเป็นคนที่สำรวย ห้องน้ำ
ไม่ดีก็มีปัญหา ท่านอาจารย์อำไพ จะบอกสุมน ไปแม่สะเรียงกัน
สนุก เดินขึ้นดอยสนุกจังเลย ท่านจะสร้างศรัทธาให้เราตลอด
จนกระทั่งเราได้เรียนรู้ว่า การที่จะนั่งวางท่าเป็นศาสตราจารย์
อยู่ในมหาวิทยาลัยเสียข้าวสุกเปล่าๆ ควรจะได้ออกมาทำงานเพื่อ-
คนอื่นให้มาก ตั้งแต่นั้นดิฉันรักการทำงานที่บุกเบิก กว้างไกล
เพราะว่าเรามีวัตถุดิบที่จะสอนนิสิตมากเหลือเกิน ทันทีที่เราออก
ไปสู่สังคมภายนอก นั่นก็คือทำให้งานเป็นกระบวนการทางบวก
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นงานที่เราทำต้องเป็นกระบวนการทางบวก
ยอมรับกัน สนับสนุนกัน เกื้อกูลกัน ขอให้เราถามไถ่สารทุกข์
สุกดิบกัน วันนี้เป็นอย่างไร ดูหน้าซีดเป็นอะไรหรือเปล่า ทานยา
หรือยัง คือ แสดงความเอาใจใส่ แต่อย่ามากเกินไป ต้องรู้หลัก-
มัชฌิมาปฏิปทา สร้างความไว้วางใจ สร้างความเชื่อมั่นในทาง
เสริมแรงกัน
Page 9
11
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
10
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ฐานที่ 3 คือ ฐานความเป็นจริงในชีวิต วิถีชีวิตที่เรา
สามารถจะพัฒนาได้ เป็นฐานทางวัฒนธรรม ขณะนี้การยุบรวม
เขตพื้นที่การศึกษาได้ทำให้ครู และศึกษานิเทศก์ สปช. สช. ไป
รวมกับครู ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา คนละวัฒนธรรมการ
ทำงาน คนละวัฒนธรรมความคิด คนละวัฒนธรรมฐานความรู้
ถึงแม้ว่าจะเป็นครูเหมือนกันมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อ
มาทำงานร่วมกัน คนที่เป็นผู้บริหารจะต้องเข้าใจวัฒนธรรมของ
แต่ละคน แล้วมีความสามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียน
ของเราเป็นวัฒนธรรมองค์กรของเรา จึงจะไม่มีว่าใครมาจากไหน
เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้วทำอย่างไรถึงจะหลอมรวมวัฒนธรรมกันได้
ตัวอย่างฐานที่ 3 นี้ยังมีอีกมาก
รูปแบบกัลยาณมิตร : ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิดใจ
1. ให้ใจ กัลยาณมิตรนิเทศเป็นกระบวนการให้ใจ ถ้าคุณ
ไม่มีใจให้ คุณมีแต่เงินให้ ไม่สำเร็จ คุณต้องมีใจให้ นั่นคือต้อง
สร้างจิตอาสาที่จะปฏิบัติ เราเคยมีวัฒนธรรมชอบแสดงแต่ความ
คิดเห็นแต่ถ้าให้ทำไม่ทำ เราจึงไม่แสดงความคิดเห็น เพราะแสดง-
แล้วคนที่แสดงเป็นคนทำ จิตอาสาไม่มี โรงเรียนไหนก็ตามที่ครู
ไม่ให้ใจ เลิกเกิน 20 นาทีก็บ่น วันเสาร์มาเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อ
จะมีทักษะคอมพิวเตอร์ก็บ่น ไม่มีใจให้ ท่านผู้บริหารสถานศึกษา-
ต้องรู้นะว่าครูเขามีครอบครัว เขาอาจจะมีปัญหาส่วนตัว เขาต้อง-
ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง ผู้อำนวยการอย่ามาเคี่ยวเข็ญให้
เกิดเป็นข่าวขึ้นมาตลอดเวลาก็จะเป็นการสื่อสาร หรือมีกล่องรับ
ฟังความคิดเห็นใครมีเรื่องกลุ้มใจเขียนใส่กล่องนี้ มีการสื่อสาร
กันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ถ้าเป็นเช่นนี้โรงเรียนของ-
เราก็จะมีชีวิตชีวา
5. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศมาจากฐานปัญญา-
ธรรม ฐานเมตตาธรรม และฐานความเป็นจริงในชีวิต ถ้า
ฐานใดฐานหนึ่งขาดไป กัลยาณมิตรไม่เกิด ฐานที่ 1 คือ ปัญญา-
ธรรม คือฐานความรู้ ผู้บริหารจะมัวพูดว่าผมไม่รู้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ได้ จริงอยู่ไม่มีใครที่รู้ทั้งหมด เพราะเราไม่ใช่สัพพัญญู แต่
โรงเรียนของเราจะต้องตื่นตัว ในการที่จะแสวงหาความรู้ มี-
ป้ายกระดานข่าวให้ความรู้ครู มีความสะดวกในการค้นหาความรู้-
ข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต หรือแต่ละท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ครู
ต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสบขุ่น จ.น่าน
เห็นชัดเลยว่าเขามีวิธีการบริหารจัดการกับนักเรียนที่เป็นชาวเขา-
อย่างไร ขณะนี้นำไปสู่นโยบายที่ทำอย่างไรเด็กชาวเขาถึงจะมี-
สัญชาติ ถ้าเขาจบการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น สิ่งที่เราทำมัน
เกิดเป็นฐานความรู้ขึ้นมาแล้วครูของเราก็จะเป็นครูที่มีความรู้เกิด-
ขึ้น เพราะฉะนั้นฐานความรู้จึงเป็นฐานที่สำคัญ
ฐานที่ 2 เมตตาธรรม คือฐานความรัก ก่อนอื่นท่านต้อง-
เมตตาตัวเอง เราไม่ควรจะโหมงานอยู่คนเดียว พยายามกระจาย-
งาน พยายามทำตนให้มีชีวิตชีวา พยายามสร้างมนุษยสัมพันธ์
ที่ดีทุกอย่างเป็นฐานของความเมตตาทั้งสิ้น
Page 10
13
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
12
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
คุณภาพ ต้องมีปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นถ้าเราตั้งใจที่จะแก้
ปัญหาร่วมกัน ให้กำลังใจกัน สร้างสิ่งดี ส่งเสริมเพิ่มเติมสิ่งที่
ขาด แล้วหัดวิจารณ์ วิเคราะห์ สรุปข้อแก้ไขปัญหา กระบวนการ
นี้ถ้าไม่ตั้งใจจะทำไม่ได้เพราะมันหนัก มันยาก จึงต้องบากบั่น
มานะพยายาม ตั้งใจที่จะสร้างสรรค์โรงเรียนของเราให้เข้มแข็ง
4. เปิดใจ โรงเรียนของท่านต้องได้รับการตรวจสอบ
ทบทวน ประเมิน 3 คำนี้เป็นคำที่ครูสยดสยอง ครูไม่ชอบ 3 คำนี้
ตรวจสอบเอาแผนมาตรวจเอาโครงการมาตรวจแล้วต้องไปแก้ไข
หรือทำใหม่ซึ่งยุคนี้เราหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบทบทวนที่-
ประเมินไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นเราควรจะใช้การประเมินเชิงบวก คือ
การตรวจสอบตนเอง การทบทวนดูตนเอง และประเมินตน-
เองให้3 คำนี้เป็นไปเพื่อสร้างความตระหนักว่าเราจะต้องทำอย่าง-
นั้นอย่างนี้อย่างโน้นเตือนเราไว้ตรวจสอบทบทวนเพื่อเตือนตนเอง
ประเมินเพื่อปรับปรุงตนเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะฝึกครูทีละนิดๆ
ให้ประเมินกันให้แสดงความคิดเห็นกันซึ่งหน้าไม่ไปนินทาลับหลัง
เขาชอบว่าครูชอบนินทา เราไม่นินทากัน แต่เรามาวิจารณ์กัน เรา-
มาฝึกครูให้วิจารณ์กันและพยักหน้ารับได้ ถ้าทำอย่างนี้ได้-
ประเทศไทยจะเจริญ เพราะว่าการวิจารณ์ที่รับได้คือการ-
วิจารณ์ตามความเป็นจริงมีเหตุผลปราศจากอคติ ถ้าเรา
จะประเมินโครงงานต่างๆ เราประเมินผลที่เห็นจริงแล้วตามขั้น
ตอนที่เป็นจริง และประเมินเพื่อจะพัฒนา ไม่ใช่ประเมินเพื่อ-
พิพากษา ผู้ประเมินไม่มีสิทธิที่จะพิพากษาว่าโรงเรียนไหนไร้
พวกเขาทำอะไรมากมาย ถ้าคุณทะลายกำแพงนี้ไม่ได้ก็ไม่เชื่อว่า-
โรงเรียนของคุณจะเข้มแข็ง เพราะครูไม่ให้ใจ ถ้าดิฉันไปเยี่ยม-
โรงเรียนไหนเจอครูยิ้มให้จะรู้สึกดีใจมาก เพราะว่าเขาไม่กลัวว่า
เราจะมาตรวจอะไร แล้วดูบรรยากาศในโรงเรียนถ้ามีคนให้ใจ-
บรรยากาศของโรงเรียนจะเป็นอย่างหนึ่ง ดิฉันสัมผัสได้ทันที ถ้า
เข้าไปในสถานที่ที่เขาทะเลาะกันเขาใช้อำนาจข่มขู่กัน เข้าไปแล้ว
เราจะรู้สึกเยือกเย็น หงอยเหงา เงียบงันกว่าปกติ
2. ร่วมใจ ก็คือ ไม่เอาดีเด่นดังเฉพาะตัว แต่ทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมช่วยให้เกิดพลัง ท่านคงฟังเรื่องนิทานไม้ไผ่ซีก-
เดียวกับไม้ไผ่เป็นกำ การทำงานรวมพลังเป็นทีมภาษาบริหาร
สมัยใหม่คือ synergy คือ การรวบรวมพลังเป็นทวีคูณ ขับเคลื่อน-
ไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ ถ้าท่านผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
รุ่น 2 แต่ละคนไปทำงานของตน โดยที่ สกศ. เป็นศูนย์กลางใน
การเสริมแรง (synergy) เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบทั้ง 2
รุ่นเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการบริหารใหม่ขึ้นมาได้ จะ
เกิดเป็นองค์กรที่มีพลังที่ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ-
ต้องรับฟัง เพราะสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาทำออกมาไม่ใช่ความ
เห็น แต่เป็นความรู้และเป็นผลของการปฏิบัติร่วมกันเป็นทีม
เพราะฉะนั้นกระบวนการร่วมใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
3. ตั้งใจ ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องมีความวิริยะ
อุตสาหะ บากบั่น พยายาม เพราะงานในโรงเรียนของเราต้อง
มีปัญหาแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใดที่ต้องการสร้างสรรค์
Page 11
15
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
14
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ดนตรี ได้ยินเสียงสนทนา ได้ยินเสียงหัวเราะ ได้ยินเสียงอ่าน
กลอน ได้ยินเสียงพูดของนักเรียน ไม่ใช่ว่าเข้าไปแล้วโรงเรียน
เงียบสงัดได้ยินแต่เสียงครูอยู่แจ้วๆ สถานที่ที่เงียบสงัดจะน่ากลัว-
มาก เพราะฉะนั้นโรงเรียนที่เงียบสงัดจะได้ยินแต่เสียงครู และ
เสียงตวาดของผู้อำนวยการ ในโรงเรียนที่เข้มแข็งบรรยากาศ
จะผ่อนคลาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่อยเฉื่อย ที่ผ่อนคลายคือทำงาน-
อย่างสบายใจ ผ่อนคลายที่ใจ ไม่ใช่ที่กาย และในเวลาเดียว
กันทุกฝ่ายเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน แล้วก็ไว้วางใจกัน
2. โรงเรียนที่เข้มแข็งจะไม่มีใครถูกทอดทิ้งอยู่อย่าง
โดดเดี่ยว โรงเรียนจะให้ทุกคนทำงานเป็นทีม มุ่งพัฒนาคุณภาพ-
ของตนเองและของผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนของเราจึงไม่ใช่เป็น-
แต่เพียง child - centered เท่านั้น แต่เป็น teacher- centered
ในเชิงบริหารคือ ผู้บริหารต้องสนใจให้ความสำคัญครูด้วย แล้ว
ทุกอย่างจะขึ้นมาอยู่ที่จิตสำนึกเป็น consciousness - centered
กลายมารวมเป็นจิตสำนึกของทุกคนในโรงเรียน ที่จะทำให้การ-
จัดการศึกษาในโรงเรียนของเราไม่อ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างที่เป็น
อยู่ เพื่อว่าอีก 20 ปีข้างหน้า นักเรียนในโรงเรียนของท่านเขาจะ
เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ถ้าท่านปลูกฝังเขาไว้ดีเขาจะเป็นผู้ใหญ่
ที่ดี แต่ถ้าท่านทำให้เขาตายทั้งเป็นตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน เขา
กลายเป็นผู้ใหญ่ที่โง่เขลาบ้าอำนาจใช้เงินเป็นใหญ่ เขากลาย
เป็นคนที่ฉกฉวยผลประโยชน์ทุกชนิด เมื่อถึงเวลานั้นคุณจะเป็น
คนแก่ที่เศร้าโศกมากๆ เพราะนั่นคือผลกรรมที่คุณทำเอาไว้ การ
คุณภาพ ผู้บริหารคนไหนไร้คุณภาพ แต่มีหน้าที่ที่จะเข้าไป
พัฒนาคนที่เห็นว่าเขาน่าจะปรับปรุงได้และพัฒนาเขาขึ้นมา
ผู้ประเมินจึงไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นผู้พัฒนา
โรงเรียนที่เข้มแข็ง
ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปต้องสามารถสร้างโรงเรียนให้-
เข้มแข็ง อาจจะเรียกว่า smart school หรือ magnet school
ก็ได้ คือเป็นโรงเรียนที่ไม่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นโรงเรียนที่มี
พลัง ท่านวาดภาพได้ไหมว่าโรงเรียนที่อ่อนแอนั้นเป็นอย่างไร
ทำอย่างไรโรงเรียนของท่านจะมีพลังเกิดขึ้นโดยใช้ทุนทางสังคม
ใช้ทุนทางวัฒนธรรมใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและใช้หลักวิชาให้เป็น-
ประโยชน์ เพราะว่าการบริหารโดยไม่มีหลักวิชาการนั้นเป็นการ-
บริหารแบบลองผิดลองถูก แต่แน่นอนไม่มีหลักวิชาใดที่ใช้ได้กับ
ทุกโรงเรียนต้องมีการนำหลักการไปประยุกต์ใช้ ลักษณะของ-
โรงเรียนที่เข้มแข็ง คือ
1. โรงเรียนที่เข้มแข็งจะพัฒนาคนไปสู่งาน มิใช่การ
รับงานมาสั่งคน เดิมผู้บริหารสถานศึกษาจะคอยรับคำสั่งจาก-
กระทรวงศึกษาธิการ รับคำสั่งจากระดับจังหวัด แล้วก็เอาคำสั่ง
นั้นมาสั่งให้ครูให้ทำงาน ต่อไปนี้ไม่ใช่ต้องกลับกัน เราจะพัฒนา
คนให้เขาสร้างงานของเขาขึ้นมาเอง แต่แน่นอนเราก็ต้องเป็น
กัปตันที่ถือหางเสือ ให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เพราะฉะนั้น-
โรงเรียนที่เข้มแข็งจึงเป็นโรงเรียนที่มีชีวิตเข้าไปแล้วได้ยินเสียง
Page 12
17
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
16
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
โครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
ที่ปรึกษา
ดร.รุ่ง แก้วแดง
เลขาธิการสภาการศึกษา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประธานผู้ทรงคุณวุฒิโครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ
ดร.นงราม เศรษฐพานิช
ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา
คณะทำงาน
ดร.วรัยพร แสงนภาบวร
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
ดร.จินตนา ศักดิ์ภู่อร่าม
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นางสาวสุภาพร โกเฮงกุล
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นายวีระ พลอยครบุรี
นักวิชาการศึกษา 8 ว.
นางสาวน้องนุช ดำเกิงสุรเดช
นักวิชาการศึกษา 4
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
เป็นคนในวงการศึกษาเราได้ทำบุญทุกวัน ดิฉันเชื่ออย่างนั้น คือ
เราได้ใช้ความสามารถของเราช่วยสร้างชีวิตที่ดีให้แก่ครู และ
นักเรียนของเราตั้งกี่ร้อยคน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำดี ทำให้เขา
ดีขึ้นๆ คือ กุศลกรรมอย่างยิ่ง ครูจึงเป็นคนที่จะได้ขึ้นสวรรค์
เพราะเราเป็นคนสร้างให้มนุษย์เป็นคนที่ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ แล้ว
ปกป้องเขาไม่ให้เขาไปสู่อบายภูมิ และโมหภูมิ เพราะฉะนั้นจึง
ขอให้กำลังใจผู้บริหารสถานศึกษาทุกท่าน ทุกวันนั้นท่านได้ทำ
บุญมาก และจะเกิดกุศลกรรมแก่ท่านอย่างยิ่ง ขอให้เป็นพร
ปีใหม่ในปี 2547 นี้

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงการนิเทศแนวใหม่

โครงการ การพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
แผนงาน (ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณภาพ คุณธรรม)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกมล ศิริบรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2555
………………………………………………………………………………………………………………
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ กระทรวงศึกษาธิการ (โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรับผิดชอบในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ด้วยมีความเชื่อว่า การที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้นได้ ครู คือ ทรัพยากรบุคคลและปัจจัยที่สำคัญที่สุด จึงต้องเน้นที่การพัฒนาคุณภาพครูเป็นสำคัญ ดังนั้น การเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของรัฐบาลที่กำหนดเป็นโครงการเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการ (Mega project) ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จึงมีโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณภาพ และมีคุณธรรม เป็นโครงการสำคัญ ประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรมหลัก รวม 12 โครงการ/กิจกรรมหลัก โดยมีโครงการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่ เป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งรวมอยู่ด้วยนั้น
ระบบการนิเทศการศึกษา เป็นระบบสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีความสำคัญยิ่ง มีศึกษานิเทศก์เป็นเพื่อนร่วมทางในการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนภายใต้บรรยากาศแห่งความเป็นกัลยาณมิตร ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถมีความชัดเจน ตัดสินใจอย่างถูกต้องในการบริหารการศึกษาให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยตรง และช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักการ/ทฤษฎีทางการศึกษา ส่งผลดีต่อผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีทั้งความรู้ ความสามารถ เจตคติที่ดีและมีคุณธรรม จริยธรรมอย่างเหมาะสม
การพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
เพื่อตอบสนองต่อการเร่งรัดการดำเนินการตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ที่จะรองรับต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ) ระยะที่ 2 (2553-2555) และพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลต่อการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดทำ โครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ สำหรับเป็นข้อมูลในการพัฒนาศึกษานิเทศก์ และใช้เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ของไทยในอนาคต
2. เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้มีคุณลักษณะ และพฤติกรรมการนิเทศการศึกษาที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบและรูปแบบการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
4. เพื่อค้นหา รวบรวม Best Practices ด้านการนิเทศการศึกษา จัดเป็นคลังความรู้และเผยแพร่เป็นแบบอย่างใช้ในการเทียบเคียงการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาการนิเทศ

เป้าหมาย ( ปีงบประมาณ 2553 – 2555)
1. ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ได้รับการประเมินสมรรถนะและจัดกลุ่ม การพัฒนาตามผลการประเมิน
2. ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถในการนิเทศ การวิจัยและพัฒนาการนิเทศตามระบบนิเทศแนวใหม่ ให้ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งมีคลังความรู้ Best Practices ด้านการนิเทศการศึกษา ที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา นำสู่การเผยแพร่หลากหลายรูปแบบ
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งมีกลุ่มเครือข่ายร่วมวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา ทุกระดับการศึกษา คือ เครือข่ายระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศึกษานิเทศก์
กิจกรรมที่ 1.1 กำหนดมาตรฐานศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ประกอบด้วย
1.1 สมรรถนะ
1.1.1 สมรรถนะหลัก
1.1.2 สมรรถนะประจำสายงาน
1.2 องค์ความรู้
1.2.1 พื้นฐานความรู้ดี
1.2.2 องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
1.3 มีเครือข่ายวิชาชีพ
1.4 มีเทคนิคการนิเทศและทักษะพื้นฐานเพื่อการนิเทศ ต่อไปนี้
1.4.1) ทักษะการบริหารจัดการเชิงระบบ(วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ การพัฒนาทางเลือก/วิธีการใหม่ ๆ ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การวางแผน/จัดทำแผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามงาน การประเมินความก้าวหน้า การประเมินผล การติดตามผล)
1.4.2) ทักษะจัดการ การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นหมู่คณะ
1.4.3) ทักษะการสื่อสาร(ความสามารถด้านภาษา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร)
1.4.4) ทักษะวิชาการ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ การวิจัย การประเมิน การนำเสนอข้อมูล การบรรยายทางวิชาการ
1.4.5) ทักษะมนุษย์สัมพันธ์
1.5 มีการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อการนิเทศที่เป็นระบบ
1.6 ปฏิบัติการใด ๆ ด้วย Action Model ที่เป็นรูปธรรม
1.7 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 2 การประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
2.1 สร้างเครื่องมือประเมินศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์
2.2 ศึกษานิเทศก์ประเมินตนเอง
2.3 ผอ.สพท.ประเมินจัดระดับศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์รายคน
กิจกรรมที่ 3 จัดทำหลักสูตร คู่มือ/ชุดฝึก วิธีการฝึกอบรม
3.1 จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม “ Whole School Approach ”
3.2 จัดทำคู่มือ/ชุดฝึกอบรม/ วิธีการฝึกอบรม
3.3 กำหนดรูปแบบการฝึกอบรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
3.3.1 e – Training
3.3.2 Face to Face
3.3.3 Learning on the job/On the job training
3.3.4 อื่นๆ
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาศักยภาพ/สมรรถนะศึกษานิเทศก์ สู่การเป็นมืออาชีพ
หลักสูตร Whole School Approach
( เลือกวิธีการที่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง)
2.1 In-service Training...การอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ
2.2 จัดทำ ID Plan พัฒนา ตนเอง และดำเนินการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.3 ระบบ e – Training
2.4 ร่วมในเครือข่าย หรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดโดยองค์กรต่างๆ หรือจัดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
2.5 จับคู่เรียนรู้ตัวต่อตัว
- Peer Coaching
- Peer Assist
- Shadowing
- Mentoring System
- Buddy System
2.6 เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
- โครงการกลุ่มร่วมพัฒนา
- วิจัยและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
- กิจกรรมกลุ่ม “เรื่องเล่าเร้าพลัง” (Story Telling)
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn)
2.7 Action Learning(เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน)
2.8 Job Swap (แลกเปลี่ยนงาน)
2.9 Self Study (ศึกษาด้วยตนเอง)
2.10 Coaching (การสอนงาน)
2.11 Expert Briefing (พบผู้เชี่ยวชาญ)
2.12 Field Trip (ศึกษาดูงาน)
2.13 Mentoring (พี่เลี้ยง)
2.14 On the Job training(การปฏิบัติงาน)
2.15 Project Assignment (มอบหมายงาน)
2.16 Task Force Participation (การมีส่วนร่วมในงาน)
2.17 Work Shadowing (ติดตามผู้มีประสบการณ์)
2.18 Training / Workshop (ฝึกอบรม/ประชุมปฏิบัติการ)
2.19 อื่นๆ
กิจกรรมที่ 5 ยกย่อง สนับสนุนศึกษานิเทศก์ Master Supervisor
5.1 กำหนดเกณฑ์/สร้างเครื่องมือคัดกรอง Master Supervisor
5.2 คัดเลือก Master Supervisor ระดับ สพท./จังหวัด /เขตตรวจราชการ ตามลำดับ (เขตตรวจราชการละ 1 คน/ปี)
5.3 จัดส่งไปศึกษาดูงานการวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา ตามความต้องการของ สพฐ.
5.4 จัดทุนสนับสนุนให้นำผลการศึกษาดูงานมาจัดทำวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษาที่สำนักงานเขตพื้นที่ฯ อย่างน้อย 1 เรื่อง
5.5 เผยแพร่ผลงานวิจัย / จัดทำทำเนียบยกย่องเป็น Master Supervisor
5.6 ประสานงาน ก.ค.ศ.เพื่อดำเนินการนำผลงานเสนอสิทธิการได้รับเงินวิทยพัฒน์
กิจกรรมที่ 2 การสนับศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศ 19 เขตตรวจราชการ และศูนย์วิจัยและพัฒนาครู และการเรียนการสอน
ระดับเขตตรวจราชการ
กิจกรรมที่ 1 : จัดตั้งศูนย์และพัฒนาการนิเทศ
1.1 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานของศูนย์ฯ
1.2 แต่งตั้งคณะ Roving Team ระดับเขตตรวจราชการ
1.3 จัดกลุ่มเครือข่าย
1.3.1 สำนักงานเขตพื้นที่
1.3.2 สถานศึกษาระดับปฐมวัย
1.3.3 สถานศึกษาระดับประถมศึกษา
1.3.4 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1.3.5 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.4 สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา/ช่วยเหลือ สนับสนุน
1.4.1 สถาบันอุดมศึกษาทั้งในท้องถิ่นและอื่นๆ
1.4.2 หน่วยงานภาครัฐ /ภาคเอกชน/ สถานประกอบการ
1.4.3 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมที่ 2 : จัดกลุ่มเครือข่ายมีส่วนร่วมวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
2.1จัดระบบข้อมูลพื้นฐาน ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
2.2 คัดกรอง จัดประเภท จำแนกกลุ่มสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ตามสภาพและระดับมาตรฐาน
2.3 ออกแบบการวิจัยและพัฒนาการนิเทศร่วมกับให้เหมาะสมกับสภาพและระดับมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษา
กิจกรรมที่ 3 : วิจัยและพัฒนาการนิเทศ
3.1 พัฒนาบุคลกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
3.2 ออกแบบการวิจัยและพัฒนาการนิเทศร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
3.3วิจัยและพัฒนาการนิเทศถึงกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่ 4 : การส่งเสริมสนับสนุน
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน
4.3 ประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อตรวจสอบคุณภาพเทียบเคียงความก้าวหน้าในการพัฒนา
4.4 จัด Symposium นำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์
4.5 ยกย่องผลงานวิจัยและเผยแพร่เอกสารและ Weblog

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาครู การเรียนการสอน 185 เขตพื้นที่
1.1 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการระดับเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 กำหนดโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของศูนย์วิทยบริการให้เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท
1.3 สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการเรียนการสอนและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3.1 สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น
1.3.2 สถานศึกษาทุกสังกัด
1.3.3 หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน / สถานประกอบการ
1.3.4 ผู้ทรงคุณวุฒิ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ต่อ)
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาครู 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.1 คัดกรอง/ประเมินสมรรถนะครู 5 กลุ่มสาระ จัดกลุ่ม/ประเภท แยกตามระดับสมรรถนะ
2.2 ทำ MOU กับสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษาและครูเป็นรายคน เพื่อการพัฒนาสมรรถนะและการเรียนการสอน
2.3 พัฒนาครูรายคนตามระดับสมรรถนะร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและศูนย์ประสานงานการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของ สพฐ.ตาม Solution โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา
2.4 ประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาเป็นรายคน
กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
3.1.ศึกษานิเทศก์ทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับเขตตรวจราชการเพื่อพัฒนาการนิเทศการศึกษา
3.2 ทำวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนโดยให้ครูมีส่วนร่วมเป็นคณะวิจัยกับศึกษานิเทศก์
3.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอน
3.4 จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยของครูในระดับสำนักงานเขตพื้นที่ฯเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกย่อง เผยแพร่เป็นเอกสารและ Weblog
3.5 จัดทำ Knowledge Asset ผลงานวิจัยระดับเขตพื้นที่ฯ
3.6 เชื่อมโยงผลงานการวิจัยสู่การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครูและศึกษานิเทศก์


กิจกรรมที่ 3 การจัดประกวดผลงาน Best Practices เพื่อหาผลงานศึกษานิเทศก์

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือก Best Practices ของศึกษานิเทศก์ทุกคน
1.1 คัดเลือก Best Practices ระดับเขตพื้นที่
1.2 นำเสนอ Best Practices ระดับเขตตรวจราชการ (คัดเลือกทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 1,000 ชิ้น)
1.3 ถอดรหัส/บทเรียน จาก Best Practices จัดเก็บเป็นคลังความรู้
กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ Best Practices
2.1 เอกสาร /วารสาร
2.2 Weblog
กิจกรรมที่ 3 จัดทำ Gallery แสดง Best Practices ประจำศูนย์วิทยบริการ
ที่สำนักงานเขตพื้นที่
กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรม KM และ Benchmarking
4.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best Practices ทุกปี
4.2 นำไป Benchmarking สำหรับผู้สนใจปรับปรุง / พัฒนา

กิจกรรมที่ 4 การกำกับติดตามและการจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
กิจกรรมที่ 1 : จัดตั้งศูนย์กำกับ ติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบนิเทศแนว ใหม่และนโยบายการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลัก ระดับ สพฐ. (ศูนย์เฉพาะกิจ)
1.1 จัดตั้งศูนย์กำกับ ติดตาม การดำเนินงานฯ ทำหน้าที่
1.1.1 กำกับ ติดตามและรายงานผลการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
1.1.2 ยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา)
1.2 จัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ
1.3 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์ฯ
กิจกรรมที่ 2 : การกำกับ ติดตามการดำเนินงานของเขตตรวจราชการ และเขตพื้นที่ฯ
2.1 ประสาน ส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศระดับเขตตรวจราชการและศูนย์วิจัยและพัฒนาครู การเรียนการสอนระดับเขตพื้นที่ฯ
2.2 เป็นเครือข่ายสนับสนุน ส่งเสริมการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการนิเทศระดับเขตตรวจราชการและระดับเขตพื้นที่ฯ
2.3 จัดทำรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่
กิจกรรมที่ 3 : ขับเคลื่อนนโยบายยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
3.1 วางแผนยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักระดับประเทศ
3.2 สร้างและระดมเครือข่ายสนับสนุน เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายการยกระดับคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักแก่สำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษา
3.3 พัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครู 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักที่เป็นจุดเน้นตามนโยบายให้มีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนนโยบาย
3.4 ทำหน้าที่ Roving Team ประสานงาน นิเทศติดตามผล ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือสำนักงานเขตพื้นที่ฯและสถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบาย
3.5 วิจัยและพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
งบประมาณ
ที่
กิจกรรม
ปี 2553
2554
2555
รวม
1
การพัฒนาศึกษานิเทศก์หลักสูตร Whole School Approach




2.
การจัดประกวดผลงาน
Best Practices
เพื่อหาผลงานศึกษานิเทศก์




3
3.1 การสนับศูนย์วิจัยและพัฒนาการนิเทศ 19 เขตตรวจราชการ
3.2 การสนับสนุนศูนย์วิจัยและพัฒนาครู และการเรียนการสอน
500,000


1,467,600
500,000


1,467,600
500,000


1,467,600
1,500,000


4,402 ,800
4
การกำกับติดตามและการจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่





รวมทั้งสิ้น
86.000 ล้านบาท
76.000 ล้านบาท
76.000 ล้านบาท
238.000 ล้านบาท


การประเมินผล

ตัวชี้วัด
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
ร้อยละของศึกษานิเทศก์ที่ได้รับการพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่Whole School Approach
1.การทดสอบความรู้งานในหน้าที่
2.การประเมินสมรรถนะ(สัมภาษณ์/ตรวจผลงาน/การสอบถามผู้เกี่ยวข้อง/การซักถาม)


3.การสอบถามผู้เกี่ยวข้องหลังการ พัฒนา
1.แบบทดสอบความรู้
2.แบบประเมินสมรรถนะ/แบบสัมภาษณ์/แบบบันทึกการผลการตรวจผลงาน/แบบสอบถามความคิดเห็น/แบบบันทึกข้อมูลจากการซักถาม)
3.แบบสอบถามความคิดเห็น
จำนวนรูปแบบ นวัตกรรมและกระบวนการนิเทศที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practices)
และผลงานวิจัยและพัฒนาการนิเทศ
1. การตรวจผลงาน Best Practices/
งานวิจัยและพัฒนา
2. การซักถามจากการนำเสนอ
3 การสำรวจความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

1.แบบบันทึกผลการตรวจผลงาน/แบบสำรวจรายการ

2.แบบบันทึกข้อมูลจากการซักถาม
3.แบบสำรวจความคิดเห็น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีฐานข้อมูลระดับความรู้ ความสามารถของศึกษานิเทศก์ และใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการพัฒนา ปรับปรุงการนิเทศการศึกษาให้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครู และการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา
2. ศึกษานิเทศก์มีความเป็นมืออาชีพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. ระบบ รูปแบบและกระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณค่า มีการนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนส่งผลดีต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
4. บรรยากาศการบริหารจัดการศึกษาและการจัดกระบวนการเรียนการสอน ภายใต้ระบบการนิเทศแนวใหม่ เป็นบรรยากาศของการสร้างสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้และบุคลากรมีความสุขจากการทำงานที่ประสบความสำเร็จ



………………………………………………………………

ทำไมคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักศึกษานิเทศก์

จากนโยบายสู่การปฏิบัติ
โดย รศ.ดร.ธงทอง จันทรางสุ เลขาธิการสภาการศึกษา

ถ้าจะพูดเรื่องของการศึกษา มักจะเริ่มพูดถึงปัญหาอยู่เสมอ เมืองไทยมี3 สภาคือ สภาพัฒน์ สภาวิจัย สภาการศึกษา 3 สภาเดิมทีอยู่ที่เดียวกันคือสำนักนายก ต่อมาคอยกระจายกันอยู่ ซึ่งมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือใกล้ชิดกัน แต่ก็ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กัน เมื่อผมเริ่มทำงาน รมต.จุรินทร์ เริ่มติวเตอร์ แชนนอล ผมว่าการกวดวิชาไม่ใช่สร้างองค์ความรู้ แต่เป็นการเอาชนะข้อสอบเท่านั้น ผมให้ข้อมูลไป แต่ท่านก็ทำเพราะเป็นเรื่องการเมือง เป็นเรื่องนโยบาย
แต่ผมก็ดีใจว่าได้แนะนำไปแล้ว
งานการศึกษา เมื่อผมเรียนหนังสือมานานก็ไปเคาะสนิมมา ผมไปเรียนยี่สิบวัน ที่นิวยอร์ค ไปพักบ้านทูตที่เป็นเพื่อนกัน กลับมาเพื่อนๆก็บอกว่าเก้าอี้ยังมั่นคง แต่รู้ไหมว่าเพื่อนร่วมงานทะเลาะกันฉิบหายเลย ส่วนใหญ่ก็เป็นหม้ายกันทั้งนั้นแหละ
เมื่อวานไปชี้แจงงบประมาณกับ สส. แต่ก็เป็นห่วงเรื่องคุณภาพ อาชีวะ สามัญ ครูที่มีคุณภาพเข้าระบบ ความเป็นธรรมในการบริหาร อ.ก.ค.ศ.ไม่โปร่งใส การเลื่อนวิทยฐานะที่จ้างคนทำมาไม่เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน ซึ่งเป็นเรื่องสภาการศึกษาจะต้องศึกษาวิจัย
สำหรับงบประมาณ 200 ล้านที่ผมได้ มีส่วนหนึ่งที่ปฏิรูปการศึกษาซึ่งส่วนหนึ่งต้องทำสมัชชา สส.ก็เสนอตัดเพราะให้สั่งการไปเลยในการอบรม ผมต้องอธิบายว่า สมัชชาต้องมีคนหลายคนหลายฝ่ายมาพูดแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่สั่งการให้อบรมกัน อีกเรื่องคือ เป็นไปได้ไหมเรื่อง สหกิจศึกษา เหล่านี้ต้องนำคนมาคุยกัน ก็เลยได้ 10 ล้านคืนมา แต่ก็ถูกตัดไป 7 ล้าน
เรื่องศึกษานิเทศก์ คนทั่วไปไม่รู้ศึกษานิเทศก์ ผมก็รู้ไม่แท้หรือรู้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นจุดอ่อน การทำให้คนรู้จักเรา มีเพื่อนฝูง มีพันธมิตร (ตอนนี้มีแต่ศัตรู เพราะไปแล้วไปด่า ไปดุเขา) เรายังไม่ทำเป็นชิ้นเป็นอัน ตอนนี้
สมาคมทำอะไรบ้าง สุภาภรณ์ ตอบว่า พึ่งมารับตำแหน่งนายก 5 เดือน ที่ไม่รู่จักเพราะเราถูกตัดหัวที่กรม กำลังดำเนินการ ส่วนที่สอง กำลังจัดประชุมทางวิชาการ เปิดโอกาสให้ แต่มีงานเยอะมาก ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เปิดให้มีการศึกษาดูงานสู่สากล ขาดการประชาสัมพันธ์ซึ่งกำลังดำเนินการ
นี่คือเรื่องแรกที่เราต้องให้เป็นรูปธรรม แต่การแสวงหาแนวร่วมที่ไม่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ อย่างสภาก็มีสื่อช่วยเป็นเพื่อนทำงานก็ดีเหมือนกัน อย่างคุณสมหมาย ปริฉัตร ของมติชน ผมก็ล่อมาประชุมด้วย เครือข่ายอย่างนี้มีความสัมพันธ์ แต่มีเพื่อนดี ก็มีศัตรูเหมือนกัน สรุปว่าต้องทำงานเชิงรุกมาขึ้น
ส่วนที่สอง อยากจะเล่าให้ฟังว่า มันเข้าใจยากที่จะเล่าให้คนฟัง การสมัชชาก็เป็นวิธิการหนึ่งที่ไปบอก ไปเสริมแรงเขาในสิ่งที่มีมา ศน.จำเป็นต้องมีสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษามันต้องเดินหน้าเสมอ อีกเรื่องคือการถ่ายทอดความรู้ที่พอเหมาะ จูงใจเชื่อปลูกศรัทธา ไม่ใช้สั่ง ผมเชื่อว่าครูยังพอใจที่จะรับฟัง เมื่อเราเสนอทางเลือกที่เป็น Best ศน.ต้อง Update อยู่เสมอ ถ้าเรารู้น้อยมากกว่าเขา เขาก็จะบอกว่าเคยฟังแล้ว เหมือนไหว้พระก่อนนอน พอขี้เกียจก็บอกว่าเหมือนคืนเดิม มันต้องหาคาถาอื่นมาสวดบ้าง ศึกษานิเทศก์ก็เช่นกัน ใครอยู่กระทรวงศึกษาธิการต้องเรียนรู้เรื่องใหม่ๆเสมอ
ที่นครศรีธรรมราช อยากจะเล่าเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 5 ปีที่ผ่านมาจะเป็นการก่อสร้างจะเป็นรูปธรรม ส่วนการศึกษา 3-4 ปี จึงเห็นรูปธรรม แต่ก็มี อบต.อีกส่วนหนึ่งที่สนใจการศึกษา ที่ปากพูน อบต.ที่นั่นน่าสนใจ เขามีวิทยุชุมชน มีคุณแม่บ้านมีลูกถ่ายทอดจากการรักษาพื้นบ้านจากพ่อ จะมีเด็กมาคุยกับผู้ใหญ่ มีศูนย์ศึกษา คู่ขนานกับโรงเรียนนี่แหละ ส่วนไหนที่โรงเรียนไม่สอนก็เอามาสอน เช่น ปลูกข้าว การย่ำโคลนเด็กชอบ การสีไวโอลีน เด็กๆก็มีครูดนตรี มีวงดนตรี มีแขกมาก็วงนี้แหละ บางทีก็ขับรถ ไม่มีใครใหญ่ใครน้อย อบต.ปากพูนจึงเป็นตัวอย่างที่ดี
ที่จังหวัดขอนแก่น มีโรงเรียนทางเลือก เป็นการถ่วงน้ำหนักให้มีความพอดี โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่บางมดผมก็เคยไปดู ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ โรงเรียนทางเลือกจะใส่เข้าไปทุกแห่งได้ไหมในโรงเรียนปกติ สืบไปสืบมา เทศบาลขอนแก่น เขาเอาทางเลือกเข้าไปผสม ทำให้เกิดความกระด้างลดลงไป แต่ผมอยากจะไปดู ซึ่งดีกว่าสิบปากว่า
เพราะฉะนั้นจึงจะบอกศึกษานิเทศก์ว่า ท่านคือสิบปากว่า และก็ยังไม่เท่ามือคำ มีไหมเครื่องมือที่มันแทนสิบปากว่า และแทนคำว่าไม่เท่ามือคำ ลงไปดู ท่านอยู่สนามรบท่านต้องเป็นที่ปรึกษาทหาร ท่านต้องยิงปืนแม่นกว่าทหาร
เป้าหมายการศึกษา คนไทยต้องได้เรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึงทุกวัยทุกช่วงอายุ ในระบบก็มากแล้ว ส่วนที่สูงอายุ ชายขอบ พวกนี้มีความจำเป็น สถานศึกษาน่าจะทำไปให้แปลกกว่าเดิม แต่ไม่ได้บอกว่าต้องทำ ถ้าห้องสมุดโรงเรียน ถ้าจะทำให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่จะดีไหมก็ลองไปคิดดู ท่านเคยไปดูมิวเซี่ยม(แหล่งเรียนรู้) ไหม แต่ผมไปดูมาแล้ว ดังนั้นที่สะพานผ่านฟ้ามีแหล่งเรียนรู้เยอะน่าเรียนรู้น่าสนใจ รวมทั้งแถวๆนั้นมีแหล่งความรู้เยอะแยะ แต่เดี๋ยวนี้ต่างคนต่างอยู่ ผมคิดว่าอยากเชิญผู้เกี่ยวข้องมาคุยกัน ส่วนต่างจังหวัดทำอย่างไรถึงจะทำให้คนที่นั่นรู้ว่าโรงเรียน สิ่งต่างๆ เป็นของเขา ท่านลองไปคิดดู และทำอย่างไรคนถึงจะอ่านมากขึ้น ดูมากขึ้น วิทย์คณิตรู้มากขึ้น
กนป.ได้มอบตัวชี้วัดให้แล้ว ซึ่งเป็นเป้าหมายในการพัฒนา จะมอบให้ฝ่ายจัดไว้
กระบวนการทำงานของ ศน.นั้นมีความสำคัญมาก มีข้อสังเกตคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนรู้จัก ศน.
การทำให้มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ และที่ว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคำ เหล่านี้ท่านจะต้องปรับตัวหรือไม่ ก็ฝากท่านไปพิจารณาก็แล้วกัน
ต่อข้อถาม ตัวชี้วัดของสภาการศึกษา มักจะชี้ความสำเร็จในด้านนโยบาย ผมจะเปลี่ยนใหม่ว่าความสำเร็จ
ตามตัวชี้วัดอย่างนี้แล้ว ก็ส่งให้ สพฐ.เลย ไม่ต้องเข้า ครม. ถ้าบอร์ดยอมรับก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของสภาการศึกษา
อีกข้อหนึ่ง คือ ที่ท่านให้ว่า ศน.ต้องอิสระในความคิด แต่ความเป็นเอกภาพน้อยมาก เพราะนายมาก โครงการเยอะ อยากจะขอโอกาสมีหน่วยกลาง ภูมิภาค ทำงานอิสระ ตอบว่า จะพยายามไปดูแล ต้องไปคุยกันเพราะเป็นการบริหาร ผมไม่อยากแทรกแซง สพฐ. อีกข้อ คือ การปฏิรูปรอบสอง น่าจะปฏิรูปเป็นเรื่อง ประถมศึกษาให้ผู้เชี่ยวชา